โครงการ “ค่ายเยาวชนวัสดุ ครั้งที่ 18 (18th Mat-E Youth camp)”ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้ กระบวนการคิด และความคิดสร้างสรรค์ มาพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่โดยอาศัยความรู้ ความสามารถทางนวัตกรรมวัสดุ จึงเกิดโครงการ “ค่ายเยาวชนวัสดุ ครั้งที่ 18 (18th Mat-E Youth camp)” ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการทางความคิดเชิงนวัตกรรมเกี่ยวกับวัสดุ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหรือประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาควิชาวิศวรรมวัสดุ กิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยผ่านการคัดเลือกจำนวน 48 คน นักเรียนที่ได้ผ่านการเข้าค่ายเยาวชนวัสดุ ในครั้งนี้ สามารถนำใบประกาศนียบัตรประกอบในportfolio
กิจกรรมแนะนำภาควิชาวิศวกรรมวัสดุพร้อมทั้งให้ความรู้ที่เกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุในเชิงนวัตกรรมด้วยรูปแบบของการสาธิตและกิจกรรมภาคปฏิบัติของภาควิชาฯและเพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ ในเชิงความรู้และการแสดงออกเชิงปฏิบัติการ
ฐานวิชาการให้ความรู้น้องๆ
- การสาธิตวิธีการสังเคราะห์และวิเคราะห์สารเรืองแสงด้วยเทคนิคทางสเปกโตรสโกปี และแนะนำสมบัติของวัสดุ
- สาธิตวิธีการใช้เครื่อง Tensile ทดสอบแรงดึง และแนะนำสมบัติของวัสดุ
- แนะนำสมบัติกลาสเซรามิกเพื่อใช้เป็นวัสดุบูรณะทางทันตกรรมและกระบวนการผลิตและแนะนำสมบัติของวัสดุ
- สาธิตกระบวนการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่อง injection molding
โดยทำการฉีดเป็นจานรองแก้วที่มีโลโก้ของภาควิชาวัสดุ ใช้material เป็น polypropylene (PP) และใส่ masterbatch เพื่อเพิ่มสีสันของจานรองแก้ว โดยทำการสอนน้องๆในเรื่องของขั้นตอนการขึ้นรูป สาธิตการทำงานของเครื่อง รวมถึงให้น้องได้ลองตัดแต่งชิ้นงาน - ขั้นตอนการสังเคราะห์เส้นใย Nylon สาธิตไนลอน (Nylon) เป็นชื่อทางการค้าของพอลิเมอร์สังเคราะห์จำพวก Polyamide การใช้งานไนลอน ได้แก่ เส้นด้านในอุตสาหกรรม ขนแปรงสีฟัน ตาข่ายของไม้แบดมินตัน เส้นด้ายไนลอนสำหรับเย็บแผล เป็นต้น
สำหรับไนลอนเกิดจากการปฏิกิริยาระหว่าง Hexamethylene diamine และ Sebacic acid หรือไนลอน 6,10 โดยการเตรียมนี้เรียกว่า Interfacial polymerization โดยสารตั้งต้นทั้งสองออกเป็น 2 ชั้น เกิดพอลิเมอร์ซึ่งสามารถดึงขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่องเป็นเส้นฟรือเป็นฟิล์ม
วิธีการนี้มีข้อดีคือ ปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำเหมาะกับสำหรับเตรียมพอลิเมอร์ที่ไม่เสถียรที่อุณหภูมิสูง
6,10 การสังเคราะห์กระดูกเทียม เป็นผงไฮดรอกซีแอปาไทต์ มี Ca Phosphate เป็นองค์ประกอบหลัก มีองค์ประกอบใกล้เคียงกับกระดูกและฟันของมนุษย์ มีความเข้ากันได้ดีกับร่างกาย นิยมใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูก การขึ้นรูปโครงกระดูกเทียม วิธี 3D printing
- ระบบฉีดเส้นพลาสติก(FDM) ใช้filament (เส้นพลาสติกในการขึ้นรูป) ใช้หัวฉีดออกมาวาดเป็นเส้นและฉีดซ้อนทับเป็ ชั้นๆ จนได้ขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ
- ระบบถาดเรซิ่น (Stereolithography/SLA) ใช้แสงUV ยิงเรซิ่นเมื่อถูกแสงจะแข็งตัว ตามรูปร่างที่วาดไว้
- การบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยวัสดุนาโนเซรามิก-เป็นการนำวัสดุ SiO2 ที่สังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ (ใบอ้อย) และ TiO2 มาขึ้นรูปด้วยเครื่อง 3D print เพื่อใช้ในการช่วยดูดซับน้ำสียอมที่อยู่ภายในแหล่งน้ำ โดย SiO2 จะทำหน้าที่ในการดูดซับสีย้อมส่วน TiO2 จะเกิดปฏิกิริยา photocatalyst ซึ่ง reaction ของปฏิกิริยาจะไปทำการ break chain ของ Methylene blue ซึ่งทำให้กลายเป็นตัวอื่นที่ไม่ใช่ methylene blue ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดน้ำเสีย Hydrogel เพื่อการเกษตร ผสม biochar + Carbopol เพื่อใช้แทนดิน สามารถกักเก็บน้ำแร่ธาตุได้ 30-100 เท่าของน้ำหนักตัว (กำลังค้นคว้าการปลูกพืชในไฮโดรเจล)
ประโยชน์ที่ได้รับ - การประชาสัมพันธ์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น
- นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เรียนรู้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุและร่วมทำการทดสอบทดลองร่วมกับพี่เลี้ยง และนักวิจัยภาควิชาที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการเกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ
รายชื่อนักเรียนระดับมัธยมปลายที่ผ่านการเข้าโครงการ “ค่ายเยาวชนวัสดุ ครั้ง ที่18 (18th Mat-E Youth camp)”
นางสาว นันทิฌา ศรีหาใต้
นาย ธนธรณ์ รื่นสักขี
นาย ทรงกลด เกิดทุ้ย
นางสาว พรรณพัชร คลังเพ็ชร
นางสาว อิสยาภรณ์ ศรีมูลชัย
นาย สิริณัฏฐ์ สุวรรณเจริญ
นางสาว วรภา เกิดพูลเปี่ยม
นางสาว บวรลักษณ์ เหลืองเจริญพัฒนะ
นางสาว นัทชา หวังหยิบกลาง
นางสาว เขมรุจิ เกศจุฬาชัยกุล
นางสาว บุศสิกาญจน์ ทองคำ
นางสาว พันธุดา ปานงาม
นางสาว ปรินทร ส่งแสง
นาย ศุภวิชญ์ จันทร์พวง
นาย พสธร ยาสมุทร
นาย ฐปนกร จิตต์วิบูลย์โสภณ
นาย ภรัณยู ทักษิณไศล
นาย พิชญพงษ์ สายพัฒน์
นาย ธนกฤต โตวิจิตร
นางสาว ชุตินันท์ อยู่วัฒนา
นางสาว กันยาภัสสร์ ปั้นสนิท
นาย รัชชานนท์ มีทองแสน
นาย กัณวัตม์โชติ ศรีศาสตร์
นางสาว โชษิตา ตาทิพย์
นางสาว สุธิดา ยังวนิชเศรษฐ
นางสาว ณัชชา ไชยเศรษฐ
นางสาว กัลยากร ศรีนพคุณ
นาย ศิวกร อ้อยใจ
นาย สิรภพ วงศ์สายสุวรรณ์
นาย นายพุทธิกร ด้วงธิวงศ์
นางสาว จิตรลดา พันธไชย
นางสาว สุทธิดา สุวรรณ
นางสาว บัวสวรรค์ ศิริเชียงพิน
นางสาว สัณห์สิรี สันติภักดี
นาย นิติภูมิ พึ่งเจริญ
นางสาว กัญจนพร ศรีเสาวลักษณ์
นาย กษิตดิศย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
นาย เมธี กุดแยง
นางสาว ณัฐภัสสร ขันธจีรวัฒน์
นาย ปภังกร ถาวรเลิศประเสริฐ
นางสาว ชนิดาภา ยังให้ผล
นางสาว ปวันภรณ์ วงศ์รักวาณิชย์
นาย ธีรดนย์ วรรณคร
นาย ภูมิพิพัฒน์ พึ่งเนตร
นาย ธราธิป ถากา
นาย ภาคิน มุณีแนม
นางสาว กันต์กนิษฐ์ พันธุ์ศิริ
นางสาว รุ่นเหมียว หลี่