[อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ วิจัยพัฒนากลาสเซรามิก (Glass-ceramics) ใช้ทำฟันเทียมสำเร็จ]
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤดี ฉายสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ได้พัฒนาต่อยอดงานวิจัย Glass-ceramics สูตร GCCY (Glass-ceramics ผสม Ceria และ YSZ) นำมาใช้ทำฟันเทียมชนิดบางส่วนติดแน่น ได้สำเร็จ
โดยสมบัติเด่นของ Glass – ceramics สูตร GCCY ที่พัฒนาขึ้นนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุทำฟันปลอมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ เรซิน อะคริลิก (พลาสติก) และโลหะ แล้ว พบว่านอกจากมีลักษณะสีคล้ายฟันแล้ว มีความแข็งแรงสูง ความแข็งเข้าใกล้ความแข็งของเคลือบฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของฟันที่ทันตแพทย์ต้องการมากขึ้น รวมถึงมีความเหนียว ไม่หักง่าย และได้มาตรฐานวัสดุเซรามิกทางทันตกรรม ใกล้เคียงต่างประเทศ สามารถกรอแต่งด้วย เครื่องมือ CNC ควบคุมด้วยระบบ CAD/CAM ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างชิ้นงานทางทันตกรรม ตรงตามความต้องการของทันตแพทย์
ทั้งนี้ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปี 2563 และ 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ชื่อโครงการเรื่อง “ความทนทานทางชีวภาพและการใช้งานของกลาสเซรามิกเป็นฟันเทียมชนิดบางส่วนติดแน่น”
โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2565 รศ. ดร.ดวงฤดีฯ ได้นำผลงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ไปร่วมจัดแสดงในงานวันคล้ายวันสถาปนา วช.ครบรอบ 63 ปี พร้อมขึ้นเวทีเสวนาในกิจกรรม NRCT Talk กล่าวถึงการพัฒนาผลงาน / ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยชิ้นนี้
กดรับฟัง NRCT Talk : Glass -ceramics ได้ที่นี่คะ