

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
นายธฤตวัต ธาราสุข นิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา
อ.ดร.พร้อม แก่นทับทิม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ และ Professor Takayuki Yanagida (NAIST)
ได้นำผลงานเข้าร่วมประขุมวิชาการ (แบบออนไลน์)
ในงาน The 2nd Quantum Energy Conversion Workshop of the Japan Society of Applied Physics
(and the 35th Next-Generation Advanced Photonics Workshop)
ชื่อผลงานที่นำเสนอ
Optical and scintillation properties of Ce-doped lutetium-gadolinium-perovskite crystals by floating zone method
ชื่อรางวัล
The Japan Society of Applied Physics (JSAP) Quantum Energy Conversion Research Group Lecture Encouragement Award
เรื่องย่อ
วัสดุซินทิเลเตอร์เป็นวัสดุเรืองแสงที่สามารถเปลี่ยนรังสีก่อประจุเช่น X-rays หรือรังสีแกมมา ให้กลายเป็นแสงที่มองเห็นได้ วัสดุกลุ่มนี้ถูกใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้านเช่น ด้านการถ่ายภาพทางการแพทย์ ด้านการรักษาความปลอดภัยของสัมภาระโดยไม่ทำลาย และด้านความปลอดภัยจากรังสี ในการศึกษานี้ ได้เตรียมผลึกเดี่ยวเพอรอฟสไกต์ Ce-doped LuGdAP:Ce ด้วยวิธี Floating Zone โดยเปรียบเทียบสมบัติก่อนและหลังการอบที่ 800°C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ชิ้นงานถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD, การวิเคราะห์เพื่อหาสมบัติเรืองแสง (PL), และสมบัติซินทิเลชัน พบว่าทุกตัวอย่างแสดงสเปกตรัมซินทิเลชันที่ช่วง 360–500 นาโนเมตร สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่าน 5d–4f ของ Ce³⁺ โดยเฉพาะตัวอย่างที่มี Ce 0.3% และผ่านการอบร้อนให้ผลลัพธ์ดีที่สุด โดยมีช่วงการเปล่งแสง 350–500 นาโนเมตร เมื่อกระตุ้นที่ 290 นาโนเมตร ค่า Quantum Yield ประมาณ 1% ค่า Light Yield เท่ากับ 1,608.90 ph/MeV ภายใต้รังสีแกมมาพลังงาน 662 keV พร้อมทั้งมีค่า afterglow ต่ำสุดที่ 31.84 ppm ที่เวลา 20 มิลลิวินาที แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการพัฒนาวัสดุผลึกเพอรอฟสไกต์ ในการพัฒนาเป็นวัสดุซินทิเลเตอร์ประสิทธิภาพสำหรับงานตรวจจับรังสี.
งานวิจัยดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลผลิตจากความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและ Devision of Materials Science, Nara Istitute of Sicence and Technology