ข่าวประชาสัมพันธ์

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. ข่าวประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. กิตติกรรมประกาศภาควิชา
  6. »
  7. โครงการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ฝึกประสบการณ์ การวิจัยด้านวัสดุขั้นสูง (โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย)

โครงการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ฝึกประสบการณ์ การวิจัยด้านวัสดุขั้นสูง (โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย)

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ให้การต้อนรับนักเรียนมัธยมปลาย จำนวน 2 คน จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยจ.กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าฝึกงานด้านวิทยาศาสตร์โครงการ การเรียนรู้นอกชั้นเรียน ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 โดยมี รศ.ดร.ดวงฤดี ฉายสุวรรณ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และมีนิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุเป็นผู้ดูแลและคอยให้คำให้แนะนำตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกงาน นักเรียนทั้ง 2 คน คือนางสาวศรีจรรยา ชวิตรานุรักษ์ และ นางสาวกุลภัสสร์ อ่อนแก้ว ที่ผ่านการฝึกงานนี้จะได้รับประกาศนียบัตรจาก รศ.ดร.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ โดยการวิจัยที่ได้ศึกษา คือ ปริมาณฝนที่ตกหนักมากขึ้นในบางช่วงเวลาประกอบกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลให้เกิดการระบายน้ำไม่ทันและเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงขึ้นบ่อยครั้งในหลายพื้นที่ทั่วทั้งประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แผ่นอิฐจีโอโพลิเมอร์พรุน จากเศษกระจกนิรภัยเทมเปอร์เหลือทิ้ง และกรวด เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมสำหรับระบบการระบายน้ำ มีความสามารถในการระบายน้ำเนื่องมาจากลักษณะภายในของวัสดุที่มีช่องว่าง ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ การใช้งานแผ่นอิฐจีโอโพลิเมอร์พรุน จากเศษกระจกนิรภัยเทมเปอร์เหลือทิ้ง และกรวด เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมสำหรับระบบการระบายน้ำ จึงมีข้อดีซึ่งช่วยลดปัญหาท่วมขังในพื้นที่ที่นำไปติดตั้ง การผลิตอิฐพรุนโดยใช้จีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุเชื่อมประสานเพื่อทดแทนการใช้ซีเมนต์ โดยการใช้เถ้าลอย (Fly ash) จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน (Lignite) และเมตาเคโอลิน (Metakaolin) ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) สารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) และมวลรวมหยาบ (Coarse aggregate) (กรวด และเศษกระจกเทมเปอร์) ผลการทดสอบแผ่นอิฐจีโอโพลิเมอร์พรุน จากเศษกระจกนิรภัยเทมเปอร์เหลือทิ้ง และกรวด เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมสำหรับระบบการระบายน้ำ พบว่ามีสมบัติทั้งในด้านของความแข็งแรง อัตราส่วนโพรง และการซึมผ่านน้ำเป็นไปตามที่มาตรฐาน ACI 522R-10 กำหนด กล่าวคือจีโอโพลิเมอร์เพสต์ (Paste) นั้นมีความสามารถในการนำไปใช้งานทดแทนซีเมนต์ได้ และเป็นวัสดุที่ง่ายต่อการผลิต
วัสดุก่อสร้างที่สามารถระบายน้ำได้เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีจึงได้มีการริเริ่มคิดค้นการพัฒนาแผ่นอิฐจีโอโพลิเมอร์พรุน จากเศษกระจกนิรภัยเทมเปอร์เหลือทิ้ง และกรวด เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมสำหรับระบบการระบายน้ำ ชนิดแผ่นอิฐและพื้นเทหล่อสำหรับระบบการระบายน้ำขึ้น

ค้นหาข่าว

ข่าวเก่า

  • Archives

    • [—]2025 (2)
    • [+]2024 (112)
    • [+]2023 (54)
    • [+]2022 (26)
    • [+]2021 (1)
  • ข่าวที่น่าสนใจ

    459952994_1289020405675717_3024451471689656783_n
    LOGOโครงการ-scaled
    Picture4
    Harrow 1