เมื่อวันที่ 10 – 14 กันยายน ที่ผ่านมา คณาจารย์จาก ฐานวิจัยวัสดุทางกล (Mechanical Materials Research Platform) ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเยี่ยมชม University of Science and Technology Beijing (USTB) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อประชุมร่วมกับ คณาจารย์จาก Institute of Advanced Materials and Technology และ School of Materials Science and Engineering, หารือสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการและวิจัย ด้าน Mechanical Materials & Corrosion
ทางคณาจารย์ภาควิชาฯ ได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ State Key Laboratory of Advanced Metals and Materials และ National Materials Corrosion and Protection Data Center ที่มีผลงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โฟมอะลูมิเนียมที่ผลิตในระดับเชิงอุตสาหกรรม หรือ ข้อมูลการกัดกร่อนสภาวะบรรยากาศ ที่เก็บข้อมูลการกัดกร่อนแบบ real time ประกอบข้อมูลสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการประเมินอายุและความเสี่ยงของโครงสร้าง
ปัจจุบันทาง National Materials Corrosion and Protection Data Center มีความร่วมมือในการวิจัยด้าน Atmospheric Corrosion ร่วมกับ คณะพาณิชย์นาวีนานาชาติ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สวทช.
สำหรับการผลักดันความร่วมมือเชิงวิชาการ ทางคณาจารย์สองฝ่าย ประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือรูปแบบต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนนิสิตทั้งในเชิงการเรียนหรือการวิจัย ระยะสั้นและระยะยาว ความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรระดับโท เอก ร่วมกันในรูปแบบสองปริญญา รวมไปถึงความร่วมมือวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะในด้าน Materials and Corrosion ต่อไป
นอกจากนี้ ทาง Office of International Affair ได้จัดให้ทางคณาจารย์เข้าชม พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย USTB เพื่อให้ได้เรียนรู้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมหาวิทยาลัย USTB ที่เริ่มก่อตั้งจาก School of Metal and Steels เพื่อรองรับการเติบโตทางอุตสาหกรรมหนักของประเทศจีน จนเติบโตเรื่อยมา มีคณะอื่นๆเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น University of Science and Technology Beijing ในปัจจุบัน
ขอขอบคุณ KUIC – Kasetsart University International College สำหรับการสนับสนุนการเดินทางสร้างความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเชิงวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยในประเทศจีนที่มี MOU ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย