ข่าวประชาสัมพันธ์

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. ข่าวประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. ข่าวทั่วไป
  6. »
  7. หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ. Ming Chi University of Technology (MCUT) Taiwan

หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ. Ming Chi University of Technology (MCUT) Taiwan

ในวันที่ 23 เมษายน 2567 ทีมอาจารย์จากภาควิชาฯ ร่วมกับคณะผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเชิญเข้าร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ. Ming Chi University of Technology (MCUT) ตั้งอยู่ในเมือง New Taipei City Taiwan ที่อยู่ตอนบนของไต้หวัน ใกล้กับ กรุงไทเป (เดินทางประมาณ 20 นาที ด้วยรถไฟฟ้า)
บรรยากาศมหาวิทยาลัยจะอยู่ตามเนินเขา ร่มรื่น แต่ก็จะเป็นอาคารเรียนที่ตั้งอยู่บนแนวเนินเขา ได้ออกกำลังกายเดินขึ้นเขาจากหอพักไปอาคารเรียนกันทุกวัน แต่ก็มีต้นไม้มากมาย ให้สามารถเดินได้อย่างร่มรื่นตลอดทาง
คณะทำงานเราได้รับการต้อนรับและแนะนำมหาวิทยาลัยจาก คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัย MCUT ประกอบด้วย Asst. Prof. Dr. Chieh-Lan Li, Dean of Office of International Affairs, Prof. Dr. Wen-Chen Chien, Dean of College of Environment and Resources, Prof. Chi-Hsien Huang, Chair of Department of Materials Engineering และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย
MCUT เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ก่อตั้งโดย Mr. Y.C. Wang และ Mr. Y.Z. Wang ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ บริษัท Formosa Plastic Group ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของไต้หวัน ที่ผลิตและจำหน่าย วัสดุ เคมีภัณฑ์ และหลากหลายผลิตภัณฑ์ในไต้หวัน
ความน่าสนใจคือ ทางผู้ก่อตั้ง ได้บริจาคหุ้นของบริษัทจำนวนมาก ให้กับทางมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าในระยะยาว มูลค่าของหุ้นและเงินปันผลจากหุ้น จะเป็นจำนวนมากพอในการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและวิจัยของมหาวิทยาลัยได้อย่างยั่งยืน
ซึ่งก็เป็นดั่งที่ผู้ก่อตั้งคาดการณ์ไว้ เพราะในปัจจุบัน มากกว่า 40% ของค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงทุนสนับสนุนการวิจัยและนักศึกษา ก็ได้มาจากเงินปันผลของหุ้นบริษัทในแต่ละปี และนอกจากนี้ ทางบริษัทในเครือ Formosa Group ก็ยังร่วมมือวิจัยหลายโครงการกับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบยุทธศาสตร์ของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เรียนก็จะได้รับทุนสนับสนุน ทั้งแบบเต็มจำนวน และค่าเทอมการศึกษา ซึ่งทุนเหล่านี้ก็รวมไปถึงทุนสนับสนุนนักเรียนต่างชาติเช่นกัน
ดังนั้น จากการเยี่ยมครั้งนี้ เราได้ทราบถึงโอกาสดีๆ สำหรับนิสิตของเรา ที่ทาง MCUT ยินดีร่วมสร้างความร่วมมือระยะยาวด้วย
โดยในด้านวิชาการ ทาง MCUT มีความยินดีสร้างความร่วมมือกับคณะ พร้อม #ทุนสนับสนุน ในโครงการที่หลากหลาย อาทิเช่น

  • โครงการ Student Camp ที่สนับสนุนนิสิตจากหลากหลายประเทศ ทำกิจกรรมร่วมกันที่ MCUT
  • โครงการสนับสนุน Research Internship ทั้งระดับตรี โท และเอก ระยะเวลา 2 – 6 เดือน และ
  • โครงการหลักสูตร Double Degree ร่วมกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย สำหรับสองปริญญาตรีและโท (หรือ 3+2 DD program)
    ซึ่งเป็นโอกาสความร่วมมือด้านวิชาการที่เกิดประโยชน์กับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นอย่างมาก
    นอกจากนี้ ทางคณาจารย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยขั้นสูงชั้นนำระดับนานาชาติของ MCUT ยังเปิดห้องปฏิบัติการต้อนรับให้ทางคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เข้าเยี่ยมชมอย่างทั่วถึง โดยมี Directors ที่ให้การต้อนรับดังต่อไปนี้
    Prof. Jyh-Wei Lee, Director of Center for Plasma and Thin Film Technology
    Prof. Chun-Chen Yang, Director of Battery Research Center of Green Energy
    Prof. Yu-Hsiang Cheng, Director of Center for Environmental Sustainability and Human Health
    Prof. Jin-Wei Liang, Director of Center for Reliability Engineering
    ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เรียนรู้ถึงแนวทางการสร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญขั้นสูง ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงมีผลงานวิจัยที่เกิดผลกระทบขั้นสูงทั้งในเชิงวิชาการและภาคอุตสาหกรรม
    ทุกห้องปฏิบัติการที่เราได้เยี่ยมชม มีเครื่องมือที่ครบถ้วน และล้ำสมัย ไม่แพ้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยในทวีปอเมริกาหรือยุโรปเลย
    ดังเช่น Battery Research Center of Green Energy ที่พึ่งได้รับการสนับสนุนต่อยอดจากทางบริษัทเครือ Formosa Group มากกว่า 1000 ล้านบาท เพราะทางบริษัททำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ ที่ทางบริษัทก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุลิเที่ยมและอื่นๆสำหรับแบตเตอรี่
    ไปจนถึงการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ที่ทางศูนย์ฯ ก็ได้มี patents พร้อมรองรับ solid state battery ในอนาคต
    และธุรกิจปลายน้ำ ที่ทางบริษัทเครือ Formosa Group ก็มีการผลิตแบตเตอรี่ส่งขายในประเทศไทย เช่น รถ EV bus ในไทย ก็ได้มีการร่วมสนับสนุนเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และร่วมมือกับผู้ผลิตในประเทศไทย
    จะเห็นได้ว่า ศูนย์วิจัยด้านวัสดุศาสตร์ในไต้หวัน ไม่เพียงแต่ทำวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ แต่มองการวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่มีความร่วมมือโดยตรงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย ส่งผลให้ ผลงานเกิดผลกระทบทั้งเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์
    โดยทาง Centers ต่างๆนี้มีทุนสนับสนุนให้นิสิตของคณะฯเราไปทำวิจัยต่อยอด ทั้งในรูปแบบของการเรียนต่อระดับปริญญาเอก หรือการทำ Research Exchange เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือวิจัยระหว่างสองสถาบันต่อไป
    โอกาสที่ดีนี้ หากนิสิตไทยได้มาเรียนรู้เทคโนโลยีผ่านการเรียนต่อระดับโทหรือเอก หลังเรียนจบ โอกาสในการทำงานต่อกับบริษัทเหล่านี้ที่มีการทำธุรกิจร่วมกับประเทศไทย ก็มีโอกาสสูงเช่นกัน เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นกับนิสิตด้านวิศวกรรมวัสดุในยุคนี้กันจริงๆครับ

ค้นหาข่าว

ข่าวเก่า

  • Archives

    • [—]2024 (98)
    • [+]2023 (54)
    • [+]2022 (26)
    • [+]2021 (1)
  • ข่าวที่น่าสนใจ

    463489581_1049069423678257_6983513173312128415_n
    460965593_1033333955253931_6615531361077446304_n
    S 60678289
    Videoframe 10886