ข่าวประชาสัมพันธ์

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. ข่าวประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. การสร้างความร่วมมือ
  6. »
  7. ต้อนรับผู้แทนจาก JICA HQ, Japan เข้าเยี่ยมหารือกับผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.

ต้อนรับผู้แทนจาก JICA HQ, Japan เข้าเยี่ยมหารือกับผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ผู้แทนจาก JICA Headquarters (HQ), Japan และ AUN/SEED-Net, JICA เข้าพบ ผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศ.ดร.วันชัย ยอดสุดใจ, คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, รศ.ดร.สุชาติ เหลืองประเสริฐ, รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์, รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์, หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, และ รศ.ดร.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ, หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ, และคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนและการสนับสนุนโครงการและกิจกรรมสำหรับ AUN/SEED-Net ในเฟสต่อไป เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการสร้างเครือข่ายนานาชาติระหว่างประเทศญี่ปุ่นและอาเซียนอย่างเข้มแข็ง และสร้างศักยภาพความเข้มแข็งให้กับ next generation

ผู้แทนของทาง JICA HQ ประกอบด้วย Prof. Dr. Koichiro Watanabe, Senior Advisor, JICA HQ, Ms. Chiaki Sasagawa, JICA HQ, Mr. Shimazu Hideki, JICA Advisor, AUN/SEED-Net, และ Dr. Sirin Chakamanont, Consultant-Project Lead, AUN/SEED-Net ได้รับฟังผลผลิตและผลลัพธ์ (outputs and outcomes) ของโครงการต่างๆที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ได้รับการสนับสนุนจาก JICA ได้แก่ Collaborative Education Program (CEP), Special Program for Research against Covid-19 (SPRAC) รวมไปถึงโครงการอื่นๆที่สนับสนุนโดย AUN/SEED-Net ในช่วงเฟสที่ผ่านๆมา รวมไปถึงได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการฐานวิจัยวัสดุนาโนและเซมิคอนดักเตอร์ (Nanomaterials & Semiconductor Research Platform) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก AUN/SEED-Net ที่ผ่านมา

รศ.ดร.สุชาติ เหลืองประเสริฐ ได้นำเสนอแนะนำภาพรวมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. โดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญๆด้านเครือข่ายนานาชาติสำหรับนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์

รศ.ดร.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ ได้นำเสนอผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากโครงการ International Collaborative Education in Materials Technology, Education, and Research (ICE-Matter) ที่ได้สร้างผลผลิตเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้และสำเร็จโครงการในปี 2022 ที่ผ่านมา

แม้ว่าโครงการจะเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมล็ดพันธ์ (Seeding) ที่ได้จาก AUN/SEED-Net สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อยอดอย่างยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน อันได้แก่ หลักสูตร Master’s and Ph.D. Double Degree Programs ระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Nara Institute of Science Technology (NAIST, Japan) ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือวิจัยระหว่างสองสถาบันผ่านวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกัน รวมไปถึงการให้ทุนการศึกษาและรับนิสิตจาก University of Yangon, Myanmar มาศึกษาต่อที่ มก. อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีนิสิตชาวพม่าอยู่ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมวัสดุมากถึง 7 คน

ในปีที่ผ่านมา NAIST และ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ได้รับทุนสนับสนุน NEXUS (JST) ที่สนับสนุน mobility ให้กับนิสิตในหลักสูตร Double Degree Programs นอกจากนี้ ความร่วมมือวิจัยด้าน semiconductors กับทาง NAIST ถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญให้คณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถผลักดันให้เกิดหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่สามารถเป็น Global Engineering ที่เป็นที่ต้องการในตลาดโลก และมีโอกาสต่อยอดการวิจัยขั้นสูงที่ NAIST ได้

ในส่วน รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ ได้นำเสนอผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้น หลังจากได้รับการสนับสนุนจาก AUN/SEED-Net ในโครงการ Short Research Exchange Program และ SPRAC ที่ช่วยสร้างโอกาสให้สร้างเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยและกลุ่มวิจัยที่หลากหลายในประเทศญี่ปุ่น ก่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยที่เข้มแข็งและวงกว้าง

ทุนพัฒนานวัตกรรม ตู้แรงดันบวกสำหรับเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยโควิด ที่สนับสนุนโดย SPRAC ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจนประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลจริง จนถึงปัจจุบัน และต่อยอดไปถึงการพัฒนาห้อง clean room สำหรับทางการแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือจากประเทศไทยและญี่ปุ่น ไปสู่หลากหลายประเทศ ทั้ง เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย และประเทศจากทวีปยุโรป ที่สามารถจัดกิจกรรม Multicultural student workshop ที่เป็นกิจกรรมนานกว่า 1 อาทิตย์ให้นิสิตจากหลากหลายประเทศมาทำกิจกรรมเชิงวิศวกรรมและวัฒนธรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายสำหรับกลุ่มนิสิตรุ่นใหม่ (New generation) โดยในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมจากมากกว่า 10 ประเทศ รวมเกือบ 140 คน ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง

ผู้แทนจาก JICA HQ ประทับใจกับ ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น ที่แสดงถึงความยั่งยืนของโครงการ ที่แม้ว่าโครงการที่สนับสนุนโดย AUN/SEED-Net ได้เสร็จสิ้นไปที่เรียบร้อยแล้ว ทางคณะฯ ก็ยังสามารถคงให้เครือข่ายนานาชาติที่เกิดขึ้นได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

โดยทางผู้แทนจาก JICA HQ มีแผนที่จะนำแนวทางการดำเนินงานในหลายๆส่วนจากทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ไปเป็นแนวทางหรือกิจกรรมสำคัญสำหรับการสนับสนุนของ AUN/SEED-Net ในเฟสต่อไป

ค้นหาข่าว

ข่าวเก่า

  • Archives

    • [—]2025 (23)
    • [+]2024 (112)
    • [+]2023 (54)
    • [+]2022 (26)
    • [+]2021 (1)
  • ข่าวที่น่าสนใจ

    484487139_1152980276620504_5568838163416740213_n
    481911094_1198664548929654_4563566453076583189_n
    480890959_1142347001017165_1091495530832063882_n
    480579708_1134612861790579_1427595776234781491_n