สัปดาห์นี้ เรามาทำความรู้จักกับสายงานด้าน Maintenance Engineer หรือ วิศวกรซ่อมบำรุง ที่เป็นอีกหนึ่งสายงานที่มีพี่ๆศิษย์เก่า วิศวกรรมวัสดุ เราไปทำงานกัน โดยมารู้จักสายงานนี้จากพี่เติ้ล MatE18 กันครับ
พี่เติ้ล, MatE18, E71, KU75, ปัจจุบัน ทำงานตำแหน่ง Engineer รับผิดชอบในส่วนของ Maintenance ที่บริษัท ETA Thailand ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ SWATCH Group, Switzerland โดยบริษัทผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา
พี่เติ้ลเล่าให้ฟังว่า สายงาน Maintenance ที่ทำในตอนนี้ ตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆมา ก็มีการเรียนรู้พัฒนาตนเองเพิ่มเติมจากต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสายงานด้าน Industrial Engineering
ก่อนที่จะมาลงเอยทำงานปัจจุบัน มีการเรียนรู้งานในสาย Equipment Process Improvement ที่บริษัท ROHM Integrated System ซึ่งปัจจุบันงานก็จะเกี่ยวข้องการงางแผนปรับปรุงเครื่องจักร จนงานที่ทำมีทั้งความเป็น วิศวกรรมอุตสาหการ ผสมผสานกับ วิศวกรรมเครื่องกล โดยมีพื้นฐานของวัสดุศาสตร์อยู่ในการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมในแต่ละโปรเจคไป
น่าสนใจเลยนะครับ ลองไปอ่านสายงานนี้กันได้เลยครับ
######################################
#Mat_E_KU : สวัสดีครับ เติ้ล แนะนำสายงาน และความรับผิดชอบหลักๆ ให้น้องๆหน่อยได้ไหมครับ
#พี่เติ้ล : ปัจจุบันทำงานที่ บริษัท ETA Thailand จำกัด (บริษัท ในเครือ SWATCH Group จากประเทศ Switzerland) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา ตำแหน่ง คือ ENGINEER I รับผิดชอบในส่วนของ Maintenance เครื่องผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา แผนกกลึงชิ้นส่วนและกัดเฟือง ก่อนส่งไปประกอบ
#Mat_E_KU : ความรู้ที่ได้ใช้ จากการเรียนที่ภาควิชาฯ กับสายงานปัจจุบัน มีอะไรบ้างครับ
#พี่เติ้ล: >> เป็นการเลือกใช้ Materials ที่เอามาทำ Spare parts ชิ้นส่วนอะไหล่ ต่างๆในเครื่องจักร ที่จะต้องผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนชิ้นส่วนเก่า ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ยืดอายุการใช้งานมากขึ้น และราคาที่สมเหตุสมผลครับ
>> และได้ใช้พื้นฐาน Solid Work ที่เป็นการเขียนแบบ Drawing ด้วย Computer-Aided Design (CAD) ที่ได้ทักษะจากคอร์สที่ทางภาควิชาฯจัดอบรม ในการ Simulate Assembly และร่างแบบตัวงานเพื่อวางแผนในการผลิตงานต้นแบบ (Prototype)
#Mat_E_KU : สายงานตอนนี้จะเน้นไปในการดูแลรักษา ปรับปรุง พัฒนประสิทธิภาพเครื่องจักร มากเลย จบใหม่ๆ มีการเรียนรู้อะไร เพื่อเก็บประสบการณ์เพิ่มเติมบ้างหรอครับ
#พี่เติ้ล : ตอนจบใหม่ๆ ผมเริ่มงานที่แรกที่ ROHM Integrated System ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผมอยู่ใน Division การผลิต Integrated Circuit (IC) ครับ ทำงานได้ 2 ปีกว่าๆ แล้วย้ายมาทำที่ ETA Thailand จนตอนนี้ทำมาได้จะสามปีครับ
ตอนทำงานที่แรก ก็เริ่มทำฝั่ง Maintenance เลย โดยได้ทำงาน แผนก Equipment Process Improvement ก่อนเลยครับ อยู่ในส่วนของ Preventive Maintenance (PM) Division ได้จับงานสาย Industrial Engineering (IE) ก่อนในการทำ Breakdown Analysis ของเครื่องจักร
จากนั้นก็ได้เจาะลึก ไปศึกษาสาเหตุของปัญหา ได้วางแผนการปรับปรุง และคิดโปรเจ๊กในการปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อแก้ไข ให้เครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพ และลดของเสียในกระบวนการผลิตครับ
จากนั้น ก็ได้ประสบการณ์ในการลงมือทำเองคือ วาดแบบ Parts 3D ใน SolidWork program และพิมพ์สามมิติ ออกมาทดลองใช้ที่หน้างานชั่วคราวและตรวจสอบ พบว่า ผลการทดลองเป็นไปได้ดี ก็จะสามารถสรุปสั่งผลิตชิ้นส่วนกับทาง Vendor มาติดตั้งกับเครื่องจักรได้ครับ
ซึ่งพอจบโปรเจคแรกนี้ ผมก็ทำงานกับเครื่องจักรมาโดยตลอด เหมือนมาทำงานในสายเครื่องกลย่อมๆ แต่ก็ต้องใช้พื้นฐานวัสดุศาสตร์เข้ามาในการเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับชิ้นส่วนและอะไหล่ครับ
โดยสรุป การเรียนรู้หลังเรียนจบแล้ว เก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ทำงานสำคัญมากครับ แต่ละโปรเจคในงานที่ทำทำให้ผมได้ความรู้วิศวกร ในสาขาอื่นๆ ได้แก่
>> Industrial Engineering: การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุ root cause
>> Mechanical Engineering: การวิเคราะห์กลศาสตร์เบื้องต้น และทำงานกับเครื่องจักร
>> Mechatronics: การใช้อุปกรณ์ต่งๆในเครื่องจักร เช่น sensor, cylinder, etc. และแนวคิดการปรับปรุงกลไกการทำงานเครื่องจักร ครับ
#Mat_E_KU : เรียกได้ว่า เก็บเกี่ยวประสบการณ์หลังเรียนจบมาเยอะเลยนะครับ พี่เติ้ล พอจะแนะนำน้องๆที่สนใจในสายงานด้านนี้ ให้เตรียมความพร้อมอย่างไร บ้างครับ
#พี่เติ้ล : ในด้านความรู้นี่ พื้นฐานการเขียนแบบ Drawing สำคัญมากครับ ในการทำงานกับเครื่องจักร
ในส่วนของทักษะ ควรมีทักษะการวิเคราะห์ การพูดและอธิบาย ถึงสาเหตุของปัญหา และนำเสนอแนวทางแก้ไข ให้แก่ผู้ฟังได้เข้าใจ รวมถึงมีตัวเลือกอื่นๆสำรองไว้เสมอ เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการของงบประมาณลงทุนจากผู้บริหาร เช่น เกิดปัญหาเครื่องจักร breakdown วิธีการแก้ไขมาหลายวิธี เราจะเลือกวิธีไหน
ในการนำเสนอ ในการบางครั้งต้องของบประมาณ จึงจำเป็นต้องมีตัวเลือกให้ผู้บริหารตัดสินใจอนุมัติงบประมาณในแต่ละครั้ง ก็จะต้องแจกแจง ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละตัวเลือก ให้ผู้บริหารประกอบการตัดสินใจ เช่น
ตัวเลือก 1: ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย แต่อายุการใช้งานไม่มาก ใช้เงินน้อย
ตัวเลือก 2: ทำยากกว่า ใช้เวลามากกว่า มีอายุการใช้งานมากกว่า ใช้เงินมากกว่า
#Mat_E_KU : พี่เติ้ลมีอะไรอยากแนะนำน้องๆเพิ่มเติมไหมครับ
#พี่เติ้ล : ผมเชื่อน้องๆทุกคน หลังจากเรียจบที่ภาคฯแล้ว จะมีทักษะวิศวกรรติดตัวกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการต่อรอง การหาวิธีแก้ปัญหาจาก root cause
ตัวผมเอง ตอนเรียนอยู่ที่ภาควิชาฯ ก็เป็นสายเอาตัวรอด ประคองตัวเอง เน้นกิจกรรมทั้งของสโมสรนิสิตวิศวกรรม และชมรมฟุตบอลคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มาประยุกต์ใช้ชีวิตการทำงานจริงด้วย
อยากให้น้องๆ ซึมซับทักษะต่างๆในรั้วมหาวิทยาลัยให้มากๆ เพราะสำหรับผมใช้ได้จริงตอนทำงาน
ทักษะภาษาอังกฤษ แนะให้น้องๆฝึกให้เยอะๆ เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญ หลายๆบริษัทในประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเกือบทั้งหมด และภาษอังกฤษเป็นใบเบิกทางทำให้ผมเองก็มีโอกาส ได้ไปดูงานที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (บริษัทแม่ SWATCH Group) เพราะต้องเอาตัวรอดและความรู้จากการดูงาน เพื่อกลับมาพัฒนากระบวนการที่ไทยครับ
###########################################
ขอบคุณพี่เติ้ลมากๆครับที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ จริงๆจะบอกว่าพี่เติ้ลเป็นสายตัวรอด ก็อาจจะไม่ใช่ซะทีเดียว น่าจะเรียกว่า เรียนแบบสายสมดุล คือ รักษาเกรดให้อยู่ในระยะปลอดภัยสบายๆ แล้วแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ ได้แก่ กีฬา และ กิจกรรมกับเพื่อนๆในคณะ ซึ่งก็เป็นการต่อยอดทำให้ เรียนก็ผ่าน และยังสร้างทักษะการเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม และได้เพื่อนๆเครือข่ายอีก (ปัจจุบัน ก็มีพี่เพชร Mat-E18 ไปทำงานที่บริษัทเดียวกันด้วย แต่คนละฝ่ายความรับผิดชอบ)
ทำให้พี่เติ้ล ได้ทักษะพื้นฐานสำคัญ จากรั้วมหาวิทยาลัย ทั้ง วิชาการ การใช้ชีวิต และ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
และทักษะที่สำคัญเลยคือ life long learning ที่พี่เติ้ลแสดงให้เห็นว่า ประสบการณ์ทำงานตลอด 5 ปีที่ผ่าน พี่เติ้ลเหมือนได้ใบปริญญาอีกใบเลย เพราะได้เรียนรู้ทักษะวิศวกรรมในสาขาอื่นๆ ทั้ง IE, ME, Mechatronics ซึ่งสิ่งสำคัญคือ พื้นฐานทางวิศวกรรมที่ติดตัวไปจากป.ตรี เป็นสปริงตั้งต้นให้สามารถเรียนรู้ต่อยอดได้อย่างไม่สิ้นสุดครับ