บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

431313248 904767588108442 1473557166717861008 N

เราได้อ่านสายอาชีพที่หลากหลายของพี่ๆศิษย์เก่าเรากันมาเยอะแล้ว วันนี้ เรามารู้จักสายงานตรงชื่อสาขา กับ วิศวกรวัสดุ (Material Engineer) ในบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมยานยนต์กันบ้าง

พี่ปราง, MatE19, E72, KU76, ปัจจุบัน ทำงานตำแหน่ง วิศวกรวัสดุ (Material Engineer) ที่บริษัท Honda R&D Asia Pacific มาแชร์เล่าสายงานนี้ให้ทราบกัน

ตอนเรียนจบใหม่ๆ พี่ปรางก็ได้เข้าทำงานในสาขาตรงนี้เลย แต่กว่าจะผ่านด่านได้ ก็สัมภาษณ์กันหลายรอบเลย จนปัจจุบัน ทำงานที่นี่มาได้เกือบ 4 ปีแล้ว

พี่ปรางเปรยๆว่า ในแผนกนี้จะมีวิศวกรวัสดุกันอยู่หลายสิบคน แต่ละคน ก็จะรับผิดชอบวัสดุเฉพาะทางๆต่างๆกันไป เช่น พี่ปรางจะโฟกัสที่วัสดุโลหะผสมอลูมิเนียม ในขณะที่วิศวกรวัสดุคนอื่นๆอาจจะรับผิดชอบ โลหะเหล็กกล้า หรือ พลาสติก หรือ งานเคลือบ เป็นต้น เรียกได้ว่า ในรถยนต์มีวัสดุอะไรบ้าง ก็ต้องมีวิศวกรวัสดุอยู่กันครบทุกด้านเลย

ความน่าสนใจของสายงานคือ แต่ละปี จะมีโมเดลรถใหม่ๆเข้ามา ก็เป็นหน้าที่ของวิศวกรวัสดุวางแนวทางของวัสดุ กระบวนการผลิต และ supply chain ต่างๆทีเกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตรถยนต์ที่ใช้วัสดุที่ต้นรับผิดชอบนั้น ได้มาตรฐานตรงกับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น แม้ว่าจะมาผลิตและซื้อวัตถุดิบต่างๆแตกต่างไป

พี่ปรางบอกว่าเรียนจบแล้ว ก็เหมือนได้เรียนรู้ลึกต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสายอลูมิเนียม เพราะจะเจอ New Model / New Challenge มาเรื่อยๆ เป็นงานที่น่าสนใจเลย ลองไปอ่านข้อมูลต่อกันเลยครับ

##################

#Mat_E_KU : สวัสดีครับ ปราง แนะนำสายงาน และความรับผิดชอบหลักๆ ให้น้องๆหน่อยได้ไหมครับ

#พี่ปราง : ทำงานในตำแหน่ง วิศวกรวัสดุ (Material Engineer) ที่บริษัท Honda R&D Asia Pacific ค่ะ

ความรับผิดชอบหลักจะเป็นการ #พัฒนาวัสดุ (โดยเฉพาะอลูมิเนียม) เพื่อผลิตรถยนต์ #prototype ภาพรวมหลัก คือ ทำยังไงก็ได้ให้วัสดุของเรามีคุณภาพและนำไปผลิตเป็นรถให้ลูกค้าได้จริงๆค่ะ โดยจะทำตั้งแต่

???? การประเมิน และ ปรับปรุงคุณภาพ ในส่วนที่เป็นสมบัติวัสดุ เช่น สมบัติทางกล โครงสร้างจุลภาค โดยอาศัย #ความเข้าใจระหว่างผลกระทบของกระบวนการผลิตกับสมบัติวัสดุ ที่เราต้องการ

????#วิเคราะห์ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับวัสดุในรถ prototye เวลานำไปทดสอบวิ่งในสภาวะต่างๆ เช่นอุณหภูมิต่ำ, ความชื้นสูง, บรรยากาศที่กระตุ้นการกัดกร่อน หรือ มีการสั่นเป็นเวลานานๆ (ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งพังก็จะมีส่วนอื่นพังตามๆกัน หน้าที่เราคือหาว่าจุดเริ่มต้นความเสียหายครั้งนี้อยู่ตรงไหน และพังเนื่องจากสาเหตุใด เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง)

????วิเคราะห์ #product ที่มีอยู่ในตลาด เพื่อศึกษา #แนวโน้มของวัสดุที่ใช้ โดยการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค, สมบัติทางกล และสมบัติทางเคมี เพื่อระบุชนิดและกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนา product ของเรา

????ออกแบบหัวข้อการทดสอบ และนำเสนอ project ใหม่ๆที่เกี่ยวของกับการพัฒนา หรือ #ลดต้นทุนทางด้านวัสดุ ให้กับบริษัท เช่น การทำให้วัสดุสามารถหมุนเวียนได้มากขึ้น โดยไม่กระทบกับสมบัติวัสดุ, ลดพลังงานในการผลิต etc

????การระบุคุณลักษณะของวัสดุด้วยเทคนิควิเคราะห์ต่างๆเวลามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือสินค้าของบริษัท

#Mat_E_KU : จากรายละเอียดงานข้างต้น ดูเหมือนจะต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมวัสดุ จากการเรียนที่ภาควิชาฯ เยอะเลยทีเดียวนะครับ

#พี่ปราง : “สิ่งที่ได้ใช้เยอะมากๆจากที่ภาค คือความรู้ใน การเชื่อมโยงกัน ระหว่าง #กระบวนการผลิต#โครงสร้างจุลภาค และ #สมบัติวัสดุ ” ตั้งแต่

????ความสัมพันธ์ระหว่าง กระบวนการผลิต โครงสร้างจุลภาค และสมบัติวัสดุ เป็น #สิ่งที่ใช้บ่อยที่สุด ในฐานะวิศวกรวัสดุที่นี่ เช่น เห็นโครงสร้างจุลภาคแบบนี้ เราก็จะบอกได้เบื้องต้นว่าผ่านกระบวนการผลิตใดมาบ้าง สมบัติทางกลจะมีแนวโน้มเป็นยังไง

????ความรู้ด้าน Materials Characterization

สิ่งสำคัญกว่าการสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ คือ การเข้าใจว่าทำไมต้องใช้เทคนิคนี้ เครื่องนี้

ตอนทำงานจริงคือฝ่ายอื่นๆจะถืองานเดินเข้ามาแล้วบอกว่าต้องการรู้อะไร หน้าที่เราคือต้องให้คำแนะนำได้ว่า ควรใช้เทคนิคไหน และเทคนิคไหนใช้ไม่ได้เพราะอะไร, วัสดุแต่ละประเภท มีข้อจำกัดต่อเครื่องมือวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน

ความรู้ #characterization เลยได้ใช้อธิบายกับบุคลากรสาขาอื่นบ่อยมากๆ

(และถือเป็นไฮไลท์ของหลักสูตรภาควิชาฯเราเลย ที่น้องๆจะได้ฝึกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ล้ำสมัยที่จำเป็นในอุตสาหกรรมจริงๆ แบบ Hand on ไม่ใช่เรียนแค่ในตำรา)

#Mat_E_KU : ถ้าน้องๆสนใจสายงานด้านนี้ แนะนำให้เตรียมความพร้อมอย่างไรครับ

#พี่ปราง : นอกจากบริษัทที่ปรางอยู่แล้ว ถ้าสนใจงานตรงสาย อยากให้ลองหยิบ เนื้อหาวิชา Materials Science for Engineering มาทบทวนสักรอบดูค่ะ สิ่งที่ได้มาจากการเรียนปีสูงๆ จะทำให้เราเข้าใจจุดที่เคยปล่อยผ่านมาตอนเรียนแรกๆ และเป็นการทบทวนเตรียมพร้อมสัมภาษณ์ด้วย

ทักษะที่สำคัญมากๆ และยังต้องฝึกอีกเยอะคือความสามารถในการทำ presentation และการ present เพราะเราทำงานร่วมกับคนจากหลากหลายสาขาวิชา ดังนั้นเราจึงต้องทำงานที่ทุกคนเข้าใจ ไม่ใช่ material engineer เข้าใจ

ไม่ว่าจะสนใจงานสาขาไหน อยากให้ลองศึกษาเกี่ยวกับ data visualization เยอะๆ เพราะเป็นทักษะที่ถ้าทำได้ดี จะผลต่อคุณภาพของงานเรามากๆ

################################

ขอบคุณพี่ปรางมากๆครับ สำหรับข้อมูลสายงาน Materials Engineer ที่ตรงสายและเป็นประโยชน์มากๆ งานมีความท้าทายและน่าสนใจมาก เพราะจะเจอโปรเจคใหม่ๆที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆตาม ความต้องการของตลาดรถยนต์

ยิ่งในปัจจุบัน มีความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เข้ามา ทำให้ แนวทางการใช้ประโยชน์ของวัสดุ ก็ต้องมุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดโจทย์ท้าทายใหม่ๆในสายงานของพี่ปราง เช่น อลูมิเนียมที่นำมารีไซเคิล จะต้องนำจากแหล่งไหน แล้วแต่ละแหล่ง จะส่งผลต่อโครงสร้างและสมบัติของอลูมิเนียมอัลลอยด์อย่างไร แล้วทำอย่างไรให้ได้สมบัติที่ต้องการ และยังลดราคาต้นทุนได้คุ้มค่าที่สุด

นอกจากนี้ พี่ปราง เล่าว่าหัวหน้าสายงานหลัก จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุเฉพาะทาง คนญี่ปุ่น ที่มีประสบการณ์ทำงานมานานมาก ทำให้ได้เรียนรู้จากปรมาจารย์ด้านนี้จริงๆ แถมพอเริ่มเก่งกันแล้ว ตอนนี้ก็ต้องมีบินไปประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย เพื่อไปทำการเทรนให้กับโรงงานที่ทางฮอนด้าไปเปิดขยายที่ประเทศอินโดฯด้วย

ค้นหาบทความ

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2024 (18)
    • [+]2023 (5)
    • [+]2018 (1)
    • [+]2017 (1)
    • [+]2015 (4)
  • บทความที่น่าสนใจ

    Nice
    Alumni 2
    449074318 972779241307276 2081305745839257923 N
    448304815 964115132173687 5480813541990155178 N