บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

419687490 876182664300268 8586008512528605622 N

#วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไร

#พี่น้องวัสดุกลับมาเล่า

สัปดาห์สอบกลางภาคนี้ พี่ๆมาเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ กับอนาคตที่สดใสหลังเรียนจบกัน

เราได้ พี่เทพ MatE9, E62, KU66, ป.โท รหัส 54, มาแบ่งปันประสบการณ์ปัจจุบัน พี่เทพ เป็น #นักวิชาการ ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) อ่านตำแหน่งงานและสถานที่ทำงานเผินๆ หลายคนจะคิดว่า พี่เทพ นี่เป็นข้าราชการสายวิชาการ ทำงานเอกสารออฟฟิศ แต่จริงๆแล้ว งานพี่เทพนี่ต้องทั้ง #บุ๋น และ #บู๊ เพราะนอกจากจะต้องแน่นด้านวัสดุศาสตร์แล้ว สายงานต้องเดินสายไปตามบริษัท โรงงาน ต่างๆ เพื่อไปตรวจสอบวิเคราะห์ความเสียหาย หรือ สมรรถนะของเครื่องจักร เครื่องยนต์ โครงสร้าง หรือ ระบบราง เรียกได้ว่าออกลุยทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ ปิโตรเคมี พลังงาน ยานยนต์ การบิน หรือ ระบบราง ปัจจุบัน เริ่มสร้างความร่วมมือกับฟากอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์มากขึ้นแล้วด้วย

สมัยเรียน จะได้เจอพี่เทพ ผ่านกิจกรรมต่างๆของภาควิชาฯ โดยพี่เทพมักทำหน้าที่ สายมัคทายก เรียกเสียงฮา ที่สามารถกำไมค์และสร้างความบันเทิงให้กับพี่ๆน้องๆได้ตลอดกิจกรรม แต่หากได้ไปรู้จักพี่เทพในห้องเรียน จะพบว่านิสิตสายฮาคนนี้ มาถึงห้องเรียน นั่งหน้าห้อง เรียนอย่างตั้งใจ (เรียกว่ากระหายความรู้เลยทีเดียว) พร้อมกับมักมีคำถามชวนคิดในหลายๆครั้ง

พี่เทพ พบความสนใจของตัวเองได้ไว โดยชอบในความรู้ด้าน #โลหะการ และ #วัสดุเชิงกล เลยทำวิจัยโปรเจคป.ตรีในสายโลหะการ และก็เรียนต่อป.โทในสายเดียวกัน เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญของตนเอง โดยเฉพาะในด้านเทคนิค #การวิเคราะห์เชิงกลขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ Residual Stress ของผิวโลหะ ด้วยเทคนิครังสี X-Ray

หลังเรียนจบ พี่เทพเลยได้พบสายงานที่ตอบความเชี่ยวชาญของตนเอง และการชอบทั้งวิชาการ (บุ๋น) และการได้ออกลุยหน้างานจริง (บู๊) ที่ตอบโจทย์ตนเอง เลยได้ทำงานปัจจุบันตั้งแต่เรียนจบตรี-โท จากที่ภาควิชาฯ

เชิญไปรับฟังข้อมูลจากพี่เทพ ต่อกันได้เลยครับ

#MaterialsEngineering_KU : สวัสดีครับ พี่เทพ พอจะแนะนำตำแหน่งงานและความรับผิดชอบปัจจุบันในสายงานได้ไหมครับ

#พี่เทพ : สวัสดีครับ ปัจจุบัน เป็น นักวิชาการ ประจำ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสมรรถนะและความปลอดภัย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ในสายงานจะดูแลรับผิดชอบงานทางด้าน การทดสอบและวิเคราะห์ผลทางด้าน #ความเค้นและความเครียด (Stress & Strain Analysis) โดยการใช้เทคนิค Strain Gaugue รวมไปถึง #การวิเคราะห์วัสดุแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing, NDT) ที่ใช้กันแพร่หลายในงานทางกล เช่น งานเชื่อม งานถังก๊าซความดันสูง เป็นต้น ทำให้มีหลายๆงานที่ต้องไป ตรวจสอบ หม้อน้ำและภาชนะรับแรงดัน ให้กับอุตสาหกรรมหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี เพราะมีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานของกระบวนการผลิตเลยครับ

นอกจากนี้ ความเสียหายของวัสดุ โดยเฉพาะโลหะ ก็จะมีความเสียหาย #ความล้า (Fatigue) เข้ามาบ่อยครั้ง ซึ่งในส่วนนี้ ทางหน่วยงานของพี่ ก็เข้าไปช่วยให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้าน Fatigue ให้กับภายนอกด้วยเช่นกันครับ

#MaterialsEngineering_KU : ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่ได้ใช้ประโยชน์ในสายงานมีอะไรบ้างครับ

#พี่เทพ : จากการทำงานที่ผ่านมา ได้ใช้ความรู้ที่เรียนตรีและโท อย่างหลากหลายเลยครับ ทั้งจาก วิชา โลหะกายภาพ (Physical Metallurgy), สมบัติทางกลของวัสดุ (Mechanical Properties of Materials), การคัดเลือกวัสดุและการออกแบบทางวิศวกรรม (Materials Selection & Engineering Design) รวมไปถึง การจำแนกคุณลักษณะวัสดุ (Materials Characterizations) ที่ต้องเจอตลอดในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงวัสดุต่างๆ

ถือว่าเรียนจบมาแล้ว ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาได้ตรงสายมากครับ เพราะงานหลักๆที่พี่ต้องทำคือ การทดสอบ ที่จะตรวจสอบงานโลหะเป็นหลัก จึงต้องประมวลความรู้ด้าน #โลหะวิทยา#สมบัติเชิงกล และ #เทคนิคการวิเคราะห์วัสดุต่างๆ

ในปัจจุบัน ก็จะเริ่มมีงานที่เป็นวัสดุ Composite และ Advanced Materials ที่มีกลุ่มวัสดุ เซรามิก และ พอลิเมอร์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตรงจุดนี้หน่วยงานพี่ก็สามารถทดสอบได้ และด้วยพื้นฐานที่เรียนป.ตรีของเราที่ครอบคลุมกลุ่มวัสดุเหล่านี้ ก็ทำให้พี่มีพื้นฐานในการไปเรียนรู้และเพิ่มความเชี่ยวชาญการวิเคราะห์วัสดุใหม่ๆเหล่านี้ได้ดีครับ

#MaterialsEngineering_KU : พี่เทพ มีอะไรแนะนำน้องๆเพิ่มเติมไหมครับ

#พี่เทพ : ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ทั้ง ป.ตรี และป.โท นับเป็นความโชคดีที่มีท่านอาจารย์หลายๆท่านที่เป็นมากกว่าอาจารย์ สอนวิชาการและแง่คิดและทัศนคติในการดำรงชีวิต สอนให้รู้จักวางแผน มีอาจารย์หลายๆท่าน เป็นมากกว่าอาจารย์ คอยช่วยเหลือปัญหาต่างๆ ทำให้รู้สึกอบอุ่นมาก คิดไว้เสมอว่าภาควิชาวัสดุเป็นเหมือน #บ้านหลังที่2 ของนิสิตที่ได้เข้ามาอยู่ครับ

ฝากน้องๆเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นๆ รวมไปถึงช่วยกันสร้างบ้านหลังที่ 2 ของพวกเราให้เติบโต เข้มแข็ง อย่างอบอุ่นและยั่งยืนต่อไปด้วยนะครับ

ต้องขอบคุณพี่เทพ ที่ยังรักและผูกพันกับบ้านวัสดุเกษตรเล็กๆหลังนี้เสมอครับ ตลอดหลายปีแม้จะจบไปแล้ว พี่เทพ ยังกลับมาสอนแล็ปให้น้องๆ โดยเฉพาะในด้านเทคนิค Non-Destructive Testing รวมไปถึงยังรับน้องที่ภาคฯ ไปฝึกงานหน้าร้อนที่หน่วยงานเสมอ และยังมีการทำวิจัยต่อเนื่องร่วมกับภาควิชาฯ เพื่อผลักดันให้ภาควิชาฯ และ วว. สามารถขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ วัสดุเชิงกล (Mechanical Materials) ให้กับประเทศ

ขอขอบคุณพี่เทพอีกครั้งครับ และเดี๋ยวคงได้เจอกันตอนที่พี่เทพเข้ามาช่วยอบรมน้องๆเกี่ยวกับวัสดุเชิงกลและการวิเคราะห์ NDT ให้กับน้องๆในไม่ช้าครับ

#วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก#MatE_KU_Plus

#วิศวกรรมวัสดุ#เกษตรศาสตร์

#ศิษย์เก่า#alumni

#วัสดุเชิงกล#MechanicalMaterials

#Fatigue #NonDestructiveTesting

ค้นหาบทความ

บทความเก่า

  • Archives

    • [+]2024 (20)
    • [+]2023 (5)
    • [+]2018 (1)
    • [+]2017 (1)
    • [+]2015 (4)
  • บทความที่น่าสนใจ

    471443953_1096880765563789_7659229830392110173_n
    469042391_1081106887141177_130714553937625886_n
    461448269_1033463818572151_7345044506422452680_n
    vlcsnap-00002