Skip to content
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Materials Engineering, KU)
  • ผู้สนใจเข้าศึกษา
  • นิสิตปัจจุบัน
  • นิสิตเก่า
  • บุคลากร
  • แบบฟอร์ม
  • แกลเลอรี่
  • ข้อร้องเรียน
  • เว็บบอร์ด
  • ผู้สนใจเข้าศึกษา
  • นิสิตปัจจุบัน
  • นิสิตเก่า
  • บุคลากร
  • แบบฟอร์ม
  • แกลเลอรี่
  • ข้อร้องเรียน
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
    • สารจากผู้บริหาร
    • ประวัติภาควิชา
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
    • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  • บุคลากร
  • หลักสูตร
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
    • ปริญญาโท (Master)
    • ปริญญาเอก (Doctorate)
  • งานวิจัย
    • Research Platform
    • ข่าววิจัย
    • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
    • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
    • ปริญญานิพนธ์
  • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
    • เกี่ยวกับเรา
    • สิ่งอำนวยความสะดวก
    • บริการด้านการวิจัย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
    • สารจากผู้บริหาร
    • ประวัติภาควิชา
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
    • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  • บุคลากร
  • หลักสูตร
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
    • ปริญญาโท (Master)
    • ปริญญาเอก (Doctorate)
  • งานวิจัย
    • Research Platform
    • ข่าววิจัย
    • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
    • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
    • ปริญญานิพนธ์
  • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
    • เกี่ยวกับเรา
    • สิ่งอำนวยความสะดวก
    • บริการด้านการวิจัย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา

บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

  • 18 มีนาคม 2568
  • 11:01
  • พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง

วันนี้ เรามาแชร์อีกสายงานที่ พี่วิศวะวัสดุ มก. ได้แสดงฝีมือ คือ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาทางระบบ (System consultant)

พี่ภู Mat-E20, E73, KU77 ปัจจุบันทำงาน ตำแหน่ง ที่ปรึกษาทางด้านระบบ Software ERP ในส่วนของ SAP (ย่อมาจาก System, Applications, and Products in Data Processing) บริษัท Accenture Thailand ซึ่งเป็น บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก ให้บริการด้วยเทคโนโลยีชั้นนำและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของทีมที่ปรึกษา เพื่อสร้างคุณค่าและแก้ปัญหาให้กับลูกค้าในหลากหลายสายงานธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ ด้าน ดิจิทัล IT อุตสาหกรรมการผลิต ต่างๆ

การทำงานในสาย ที่ปรึกษา หรือ consultant มีความน่าสนใจที่จะต้องประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย ได้อย่างรวดเร็ว การวางระบบที่ตอบความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มผลิตผลและประสิทธิภาพให้กับบริษัท จะเห็นได้ว่าต้องมีทั้งความรู้และทักษะเชิงวิศวกรรม รวมไปถึง ความรู้และทักษะเชิงธุรกิจและดิจิตอลเป็นอย่างสูง

น้องๆคนไหนสนใจงานสายที่ปรึกษา ลองไปอ่านงานพี่ภูกันต่อได้เลยครับ

#################################

#Mat_E_KU : สวัสดีครับ กวนพี่ภูแนะนำตัวเองและตำแหน่งสายงานในปัจจุบัน ได้เลยครับ

#พี่ภู : สวัสดีครับ ชื่อ เวสสภู มงคล (ชื่อเล่นภู) KU77, E73, Mat-E20

ปัจจุบันทำงานที่ Accenture Thailand ในตำแหน่งของ SAP – Business & Integration Architecture Associate หรือว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านระบบ Software ERP ในส่วนของ SAP ครับ โดย Accenture Thailand เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาซึ่งจะแบ่งงานกันเป็นรูปแบบโปรเจค โดยที่แต่ละโปรเจคจะเป็นชื่อลูกค้าที่ทางคนที่เป็นที่ปรึกษาจะไปให้คำปรึกษา กับลูกค้าที่ได้รับมอบหมายมาครับ

#Mat_E_KU : ช่วยอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบในสายงานของพี่ได้ไหมครับ
#พี่ภู : ในการทำงานแต่ละโปรเจค จะแบ่งเป็นทีมใหญ่ๆครับ โดยรูปแบบทีมจะเป็นทั้ง Vertical (ให้นึกถึงแผนผังองค์กรที่มีลำดับชั้น) และ Horizontal (ให้นึกถึงทีมที่มีหน้าที่เท่ากันสำดับความสำคัญเท่ากัน) โดยในส่วนของผมจะทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนให้คำปรึกษาระบบ SAP ให้กับลูกค้าที่มีความต้องการที่จะ Implement และ Support

โดยที่ Process จะเริ่มทำตั้งแต่รับ Requirement ของลูกค้าว่าทางลูกค้าอยากว่าได้รูปแบบการแสดงผลข้อมูลในระบบ SAP อย่างไร ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆก็อาจจะเป็นการออกแบบ UX/UI ครับ โดยที่ ระบบ SAP หลักๆก็จะประกอบไปด้วยรูปแบบของ “WRICEF” โดยความหมายจะมีดังนี้ครับ

W – Workflow : การกำหนดกระบวนการอัตโนมัติใน SAP เพื่อช่วยในการประมวลผล เช่น การอนุมัติคำขอซื้อหรือใบแจ้งหนี้
R – Reports : รายงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อดึงข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง เช่น รายงานยอดขายหรือรายงานสินค้าคงคลัง
I – Interfaces : การเชื่อมต่อหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง SAP กับระบบอื่น เช่น การส่งข้อมูลจาก SAP ไปยังระบบการเงินหรือการรับข้อมูลจากระบบ MES (ระบบโรงงาน)
C – Conversions : การนำเข้าข้อมูลจากระบบเก่าหรือแหล่งข้อมูลอื่นเข้าสู่ SAP เช่น การย้ายข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลสินค้า
E – Enhancements : การปรับแต่งหรือเพิ่มฟังก์ชันให้กับ SAP เพื่อให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ เช่น การเพิ่มฟิลด์ในหน้าจอ
F – Forms : แบบฟอร์มเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการพิมพ์หรือการแสดงผล เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเสนอราคา หรือใบสั่งซื้อ

หลังจากได้รับ Requirement เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะต้องทำการประเมินว่าสิ่งที่ทางลูกค้าต้องการเราจะใช้เวลาในการ Development อยู่ที่ประมาณกี่วันครับ หรือ ที่เรียกกันว่า “Man day” ครับ ซึ่งทั้งนี้ก็จะต้องมีการประชุมกันทั้ง Internal team (เป็นการประชุมภายในระหว่าง Consult และ ทางทีม Programmer) และ External team (เป็นการประชุมระหว่างทีม Consult และ ลูกค้าที่ทางทีมได้รับ requirement มา)

พอเราได้สิ่งที่ลูกค้าต้องการแล้วเราก็จะเข้าสู่กระบวนการที่จะให้ลูกค้าได้ทำการทดสอบ Program ครับ โดยทั้งนี้การทำงานของแต่ละทีมก็จะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไปครับ ซึ่งจะมีทั้ง Waterfall และ Agile ครับ ขึ้นอยู่กับการกระจายงานและงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละทีมครับ

#Mat_E_KU : ฟังจากความรับผิดชอบต้องมีการพัฒนาระบบอย่างละเอียดให้กับลูกค้า ตั้งแต่เข้าใจกระบวนการของลูกค้า ไปจนถึงเสนอ ระบบเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า แล้วในส่วนความรู้ที่พี่ภู ได้ใช้จากการเรียนที่ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ประยุกต์ใช้ส่วนใดบ้างครับ

#พี่ภู : สำหรับความรู้ที่ได้จากการเรียนภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ก็เป็นความรู้ที่สามารถต่อยอดได้หลายๆวิชาเลยครับ เช่น Principle of Chemistry, การออกแบบผังโรงงาน, การออกแบบกระบวนการผลิต Manufacturing, Innovative Thinking , Design Thinking

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงวิชาเลือกต่างๆ ก็ใช้ประโยชน์ได้เยอะครับ เช่น Rubber Technology, Composite Materials, Materials Technology in Petroleum and Petrochemical Industries, Economics for Materials Engineering

สาเหตุอันเนื่องมาจากโปรเจคในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอุตสาหกรรมในส่วนของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น โรงงานยาง, โรงกลั่นน้ำมัน, โรงแยกก๊าช ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมมีความสำคัญของประเทศไทยมากๆครับ และแน่นอนครับว่า #ความรู้ที่ได้จากภาควิชาวัสดุของเรา ก็แทบจะครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมที่กล่าวมาเลยครับ

ซึ่งในแต่ละโปรเจคโจทย์จะไม่เหมือนกันครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุได้ให้ความรู้กับผมมานั้น ผมสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ ในช่วงที่คุยเพื่อรับ Requirement จากลูกค้าและสามารถปะติด ปะต่อเรื่องราวนั้นได้ง่ายทำให้สามารถมองเห็นถึงภาพรวมของธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นด้วยครับ

#Mat_E_KU : เยี่ยมมากเลยครับที่สามารถใช้ความรู้ต่อยอดได้มากขนาดนี้ นอกจากนี้ ก่อนจะมาทำงานในด้าน consultant พี่ภูมีสะสมประสบการณ์ทำงานที่ไหนมาก่อนบ้างไหมครับ

#พี่ภู : ก่อนหน้านี้ ผมได้ทำงานเก็บประสบการณ์มา 2 ที่ครับ

ที่แรก : ทำที่ Thonburi energy storage manufacturing เป็น Production Engineer ซึ่งเป็น Product เกี่ยวกับ Battery รถยนต์

ที่สอง : ทำที่ Delta เป็น Industrial Engineer ทำเกี่ยวกับการผลิต PBC และ Product ที่ใช้ PBC เป็นส่วนประกอบ

จาก 2 ที่ ที่ผ่านมาช่วยให้มองการทำงานในส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบ Process ได้เข้าใจมากขึ้นครับ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในปัจจุบันครับ

#Mat_E_KU : พี่ภูดูมองภาพงานเป็นระบบมากๆครับ ถ้าน้องๆสนใจสายงานนี้ พี่ภูแนะนำให้น้องๆเตรียมตัวอย่างไรครับ

#พี่ภู : อย่างแรกเลยก็ต้องเป็นความรู้ภาษาอังกฤษครับ เพราะขึ้นชื่อว่างาน Consult เป็นงานที่ทำกับคนที่เป็นต่างชาติเยอะมากๆครับ ทำให้มีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษอยู่บ่อยครั้งครับและความรู้ SAP ต่างๆก็เป็นเอกสารภาษาอังกฤษครับ

อย่างที่สองไปก็ต้องเตรียมความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียน Program อาจจะเริ่มด้วยภาษา Python ก็ได้ครับเพราะว่าเราเป็นภาษาที่เข้าถึงง่ายที่สุดครับ

อย่างที่สามก็อาจจะเป็นความรู้ทางด้านการออกแบบ UX/UI ต่างๆครับเวลาไปรับ Requirement จากลูกค้าจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นครับ

อย่างสุดท้ายก็จะเป็นเรื่องของความรู้รอบตัวครับ สำคัญมากครับ ก็จะประกอบไปด้วยเรื่องของเศรษกิจทั้งของโลกและของไทย, ภูมิรัฐศาสตร์, การขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับสถานะการณ์โลกในตอนนี้นี้จะส่งผลกระทบอะไรกับลูกค้าของเราบ้างครับ

####################

ขอบคุณพี่ภูมาก ที่มาแชร์อีกสายงาน ด้าน technology consultant ที่น่าสนุก ได้ใช้ทั้งความรู้ทางวิศวกรรมวัสดุ ผสานไปกับเทคโนโลยีดิจิตอลและระบบ IT เพื่อให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมในประเทศครับ

ต้องบอกว่า ทางอาจารย์ ได้เจอพี่ภูโดยบังเอิญ ที่สถานี ม.เกษตรศาสตร์ รถไฟฟ้า BTS ขณะที่พี่ภูกำลังเดินทางไปพบกับลูกค้ากลุ่มบริษัทใหญ่แถวๆสถานีจตุจักร เลยได้พูดคุยถึงสายงานที่พี่ภูได้ทำอยู่ในปัจจุบัน

ได้เห็นแววตาของพี่ภู ที่มีฝันอยากจะทำงานในสาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีตั้งแต่จบใหม่ จึงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงาน และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับสมัครงานในสายนี้ จนปัจจุบันสามารถได้ทำงานที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้

ยินดีและชื่นชม ที่เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอีกหนึ่งสายงานให้กับ ชาววิศวกรรมวัสดุ กันครับ ทำให้เราได้เห็นภาพถึงอีกหนึ่งโอกาสสายงานที่น่าสนใจมากๆ

ว่าแล้ว เลยทาบทามพี่ภูไว้ ให้มาสอน basics ขั้นต้นของระบบ ERP ให้น้องๆ Mat-E KU จะได้มีพื้นฐานทางระบบบัญชีเบื้องต้นกันครับ

ขอบคุณพี่ภูอีกครั้งครับ

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine
PrevPreviousพี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
Nextพี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้างNext

ค้นหาบทความ

คีย์เวิร์ดยอดนิยม

หมวดหมู่

ทั้งหมด รายการ

ไม่พบรายการ

โหลดเพิ่ม

บทความล่าสุด

ดูทั้งหมด »

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

8 เมษายน 2568 10:01

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

18 มีนาคม 2568 11:01

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

4 กุมภาพันธ์ 2568 09:51

ประเภทบทความ

  • ไม่ระบุหมวดหมู่
  • พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2025 (3)
      • เมษายน (1)
      • มีนาคม (1)
      • กุมภาพันธ์ (1)
    • [+]2024 (20)
      • ธันวาคม (2)
      • กันยายน (1)
      • สิงหาคม (5)
      • มิถุนายน (2)
      • พฤษภาคม (2)
      • เมษายน (1)
      • มีนาคม (3)
      • กุมภาพันธ์ (1)
      • มกราคม (3)
    • [+]2023 (5)
      • ธันวาคม (3)
      • พฤศจิกายน (2)
    • [+]2018 (1)
      • กรกฎาคม (1)
    • [+]2017 (1)
      • ตุลาคม (1)
    • [+]2015 (4)
      • เมษายน (4)
  • แท็กบทความ

    glass ceramics Japan ญี่ปุ่น พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง ม.เกษตร วิศวะวัสดุ วิศวะวัสดุ เกษตร เด็กวิศวะ เด็กวิศวะวัสดุ เรียนอะไรดี

    บทความที่น่าสนใจ

    489323977_1172903127961552_7157794286164064393_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    8 เมษายน 2568
    10:01
    476223458_1124703159448216_3316741313162602491_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    4 กุมภาพันธ์ 2568
    09:51
    471443953_1096880765563789_7659229830392110173_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    26 ธันวาคม 2567
    14:16
    461448269_1033463818572151_7345044506422452680_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    27 กันยายน 2567
    14:30
    ไม่พบรายการ
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    อาคารชูชาติ กำภู, 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทร : (+66) 02 797 0999 ต่อ 2102-4

    Facebook Youtube Instagram X-twitter Envelope Phone
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    Copyright © 2022-2024, Department of Materials Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

    ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    อาคารชูชาติ กำภู, 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทร : (+66) 02 797 0999 ต่อ 2102-4

    Facebook Youtube Instagram X-twitter Envelope Phone
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    Copyright © 2022-2024, Department of Materials Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

    Research Platform

    หลักสูตร Courses

    Facebook

    Youtube

    ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ MIC

    สนใจเข้าศึกษา Prospective

    คีย์เวิร์ดยอดนิยม

    หมวดหมู่

    ทั้งหมด รายการ

    ไม่พบรายการ

    ผลการค้นหาทั้งหมด
    เมนูหลัก
    •   หน้าหลัก
    • เกี่ยวกับเรา
      • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
      • สารจากผู้บริหาร
      • ประวัติภาควิชา
      • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
      • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
      • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
    • บุคลากร
    • หลักสูตร
      • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
      • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
      • ปริญญาโท (Master)
      • ปริญญาเอก (Doctorate)
    • งานวิจัย
      • Research Platform
      • ข่าววิจัย
      • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
      • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
      • ปริญญานิพนธ์
    • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
      • เกี่ยวกับเรา
      • สิ่งอำนวยความสะดวก
      • บริการด้านการวิจัย
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ติดต่อเรา
    เมนูลัด
    • แบบฟอร์ม
    • แกลเลอรี่
    • ข้อร้องเรียน
    • เว็บบอร์ด
    • สำหรับผู้สนใจเข้าศึกษา
    • สำหรับนิสิตปัจจุบัน
    • สำหรับนิสิตเก่า
    • สำหรับบุคลากร