Skip to content
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Materials Engineering, KU)
  • ผู้สนใจเข้าศึกษา
  • นิสิตปัจจุบัน
  • นิสิตเก่า
  • บุคลากร
  • แบบฟอร์ม
  • แกลเลอรี่
  • ข้อร้องเรียน
  • เว็บบอร์ด
  • ผู้สนใจเข้าศึกษา
  • นิสิตปัจจุบัน
  • นิสิตเก่า
  • บุคลากร
  • แบบฟอร์ม
  • แกลเลอรี่
  • ข้อร้องเรียน
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
    • สารจากผู้บริหาร
    • ประวัติภาควิชา
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
    • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  • บุคลากร
  • หลักสูตร
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
    • ปริญญาโท (Master)
    • ปริญญาเอก (Doctorate)
  • งานวิจัย
    • Research Platform
    • ข่าววิจัย
    • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
    • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
    • ปริญญานิพนธ์
  • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
    • เกี่ยวกับเรา
    • สิ่งอำนวยความสะดวก
    • บริการด้านการวิจัย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
    • สารจากผู้บริหาร
    • ประวัติภาควิชา
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
    • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  • บุคลากร
  • หลักสูตร
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
    • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
    • ปริญญาโท (Master)
    • ปริญญาเอก (Doctorate)
  • งานวิจัย
    • Research Platform
    • ข่าววิจัย
    • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
    • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
    • ปริญญานิพนธ์
  • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
    • เกี่ยวกับเรา
    • สิ่งอำนวยความสะดวก
    • บริการด้านการวิจัย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา

บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

  • 12 มิถุนายน 2567
  • 09:39
  • พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง
  • พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง
448304815 964115132173687 5480813541990155178 N

พี่ยอด อรรถวิท ไตรภาควาสิน Mat-E13, E66, KU70 ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง Section Manager แผนก Materials Technology Development บริษัท Hitachi Astemo ที่ผลิตชิ้นส่วนสำหรับงาน Automotive ซึ่งเป็น R&D Center ที่รับผิดชอบงานด้ายวัสดุของบริษัทในโซน อาเซียน และ อินเดีย เลยครับ

เมื่อปีที่ (2566) พี่ยอดมาพูดแนะนำน้องๆในงานปัจฉิมนิเทศ พร้อมกับประกาศรับสมัคร วิศวกรวัสดุ เพื่อเข้าไปร่วมงานในแผนก Materials ที่พี่ยอดเป็นผู้จัดการแผนกอยู่ แล้วก็ได้รุ่นน้อง หรือ พี่เซนต์ Mat-E22 เข้าไปร่วมงาน (พี่ยอดชมมากว่า น้องเก่งมาก เรียนรู้งานได้ไว) วันนี้ เลยมาขอให้พี่ยอดแชร์ สายงานที่ทำ ความรับผิดชอบ และการเตรียมพร้อม

จริงๆแล้ว เมื่อปี 2015 พี่ยอดเคยมาเล่าให้เราฟัง สมัยที่ไปเริ่มทำงานเป็นวิศวกร ที่ญี่ปุ่นใหม่ๆ เพราะมีฝันอยากลองเป็นพนักงาน โดยสมัครทำงานตรงกับบริษัทที่ญี่ปุ่น ผ่าน บริษัท Recruit จากญี่ปุ่น ที่มาประชาสัมพันธ์ที่ภาควิชาฯ และก็ได้เริ่มงานที่บริษัท KEIHIN, Tochigi Research and Development จังหวัดโทชิกิ ประเทศญี่ปุ่น และก็ทำที่บริษัทนี่มาอย่างต่อเนื่อง

จนบริษัทเปลี่ยนชื่อจากการเทคโอเวอร์ และก็ได้กลับมาทำงานเป็น ผู้จัดการแผนก ในสาขาที่ประเทศไทย และบุกเบิกแผนก Materials Technology Development ให้กับบริษัทมา สมแล้วที่มีฝันอยากลองเป็นพนักงานมนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น กลายเป็นพนักงานญี่ปุ่นมายาวนานกันเลยทีเดียว

(ตามอ่านเรื่องราวตอนนั้น ได้ที่ https://www.facebook.com/notes/645089442857325/)

เราลองไปอ่านเรื่องราวของพี่ยอดกันได้เลยครับ

###################################

#MaterialsEngineering_KU : สวัสดีครับ พี่ยอดพอจะแนะนำตำแหน่งงานและความรับผิดชอบปัจจุบันในสายงานได้ไหมครับ

#พี่ยอด : สวัสดีครับ ปัจจุบัน พี่ทำงานที่ บริษัท Hitachi Astemo เป็น ด้าน automotive นะครับ ตำแหน่ง Section Manager แผนก Materials technology development ครับ รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ powertrain ครุบ

#MaterialsEngineering_KU : ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่ได้ใช้ประโยชน์ในสายงานมีอะไรบ้างครับ

#พี่ยอด : ความรู้ที่ได้ใช้นี่ เกือบทุกวิชาเลยครับ ทั้ง โลหะ polymer ceramic ครับ เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกันกับทุกวัสดุ และ ทุกวิธีการผลิต (Processing) เลยครับ

เนื่องจากมีทั้งงานที่เป็น การประเมินวัสดุ ก็จะมี การทดสอบ สมบัติ (properties) ต่างๆของวัสดุ เช่น

สมบัติเชิงเคมี ที่นำความรู้จากวิชา การจำแนกคุณลักษณะวัสดุ (Materials Characterization) มาประยุกต์ใช้

สมบัติทางกล ที่นำเอาความรู้จากวิชา Physical Metallurgy, Mechanical Materials และ Intro to Polymers มาใช้ประโยชน์

การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค (Microstructure) ก็สามารถนำเอาทักษะที่ได้มากจาการเรียนวิชาแล็ป Materials Characterization และ วิชา Corrosion มาช่วยในการประเมิน coating ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น Anodizing, Physical Vapor Deposition (PVD), Chemical Vapor Depostion (CVD) ที่ต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุเป็นอย่างมากครับ

นอกจากนี้ยังมี

– การวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดกับผลิตภัณฑ์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ที่ใช้ความรู้จากวิชา Failure Analysis, Corrosion, และ Materials Characterization

– การร่วมมือกับแผนก Production และ Quality Control เพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิต และ ลดของเสียทั้งภายในและจากภายนอกบริษัท ที่สามารถนำความรู้จากวิชา Manufacturing, Processing Labs หรือ Quality Control มาใช้ประโยชน์

– การดำเนินการด้าน วิศกรรมย้อนรอย หรือ Reverse engineer เพื่อวิเคราะห์การทำงานและวัสดุของผลิตภัณฑ์คู่แข่ง ที่ต้องใช้ความรู้ที่เรียนจากวิชา Manufacturing และ Materials Characterization

– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ร่วม วิจัยและพัฒนา (R&D) กับ แผนกอื่นๆ ซึ่งจะต้องปรับพารามิเตอร์ในการผลิต ให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่ในมาตรฐานบริษัท ซึ่งความรู้จากวิชา Thermodynamics และ Kinetics ของวัสดุ ช่วยได้มากในการ กำหนดตัวแปรพารามิเตอร์ในการผลิตครับ เพราะเรารู้ว่า ตัวแปรอะไรมีผลกระทบกับสมบัติวัสดุบ้าง และระยะเวลา อุณภูมิ มีผลอย่างไร ครับ

– และเนื่องจากเป็นบริษัทญี่ปุ่น ก็จะมีการเขียนรีพอร์ทเป็นภาษาอังกฤษบ้าง การที่ได้เรียนเป็นภาษาอังกฤษบ้างทำสไลด์และอ่าน paper ตอนเรียน โดยเฉพาะช่วงทำ Senior Project ที่พัฒนาทักษะการดำเนินงานวิจัย ช่วยได้เยอะมากเลยครับ

#MaterialsEngineering_KU : ถ้าน้องๆสนใจสายงานด้านนี้ แนะนำให้เตรียมความพร้อมอย่างไรดีครับ

#พี่ยอด : งานสายนี้จะใช้ความสามารถในการวิเคราะห์สูงมาก

ยกตัวอย่าง เช่น performance ที่เปลี่ยนไปเยอะมากจาก สมบัติวัสดุ (properties) หรือ กระบวนการผลิต (process) ที่ต่างกันนิดเดียว ดังนั้น จำเป็นต้องคิดวางแผนเป็นระบบ ตั้งแต่การเลือกเครื่องมือแรกในการวิเคราะห์ มีผลต่อการวิเคราะห์ของเรา ซึ่งถ้าเราเลือกไม่ถูกงานของเราก็อาจจะยังคลำทางไปไม่ถูกครับ

เราอาจเริ่มจากการหมั่นสังเกตอะไรเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน อาจจะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นครับ

การ ช่างสังเกตและตั้งคำถาม เพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตั้งสมมติฐาน และวางแผนการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญจากที่ได้จากการทำงานวิจัย ครับ

นอกจากการวิเคราะห์แล้ว ทักษะในการสื่อสารก็จำเป็นเช่นเดียวกันครับ เพราะมีการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกบริษัทตลอดครับ เช่น การอธิบาย properties ของวัสดุ ให้กับวิศวกรสาขาอื่นๆ หรือคนที่ไม่มีความรู้ทางวัสดุศาสตร์ ให้เค้าสามารถเข้าใจได้ง่าย

และสิ่งที่จำเป็นพอๆกับความรู้ คือการหาโอกาสให้ตัวเองเสมอๆครับ ไม่ว่าจะเป็นการงานประกวดโครงงานต่างๆ การหาโอกาสฝึกงาน หรือการได้ไปดูงานต่างประเทศ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ได้รับโอกาสนั้น อาจจะชนะ/ได้รับรางวัลหรือไม่ เราก็จะยังได้รับประสบการณ์ที่มากพอ ที่จะสานต่อในอนาคตครับ

เพราะพี่เอง ก็หาโอกาสที่ผ่านเข้ามาในช่วงที่เรียนที่ภาควิชาฯ ทั้งการฝึกงานต่างประเทศ ดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น จนไปสู่การสมัครงานที่ญี่ปุ่น ที่ล้วนได้โอกาสผ่านช่องทางมาจากภาควิชาฯ ดังนั้น การคอยหมั่นหาโอกาสเสมอ และกล้าที่จะลองคว้าโอกาสนั้น ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญครับ

#################

ขอบคุณพี่ยอดอีกครั้งครับ ที่มาแชร์เรื่องราวดีๆให้กับน้องๆ แถมจบไปนอกจากกรุยทางความสำเร็จให้กับชาว Materials Engineers แล้ว แถมมาเล่าประสบการณ์ตัวเองหลายครั้งแล้ว ก็ยังสร้างงานตำแหน่ง ที่เปิดโอกาสให้น้อง Mat-E KU ได้ไปร่วมงานด้วยครับ

ปัจจุบัน พี่ยอดเล่าว่าในทีม มีวิศวกรด้านวัสดุ กันสี่คน ดูแลวัสดุทุกประเภท ทั้งโลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ รวมไปถึงดูแลกระบวนการผลิต ทั้ง Pressing, Die casting, Heat treatment เกือบทุกกระบวนการที่มีในอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

ภูมิใจและยินดี กับศิษย์เก่าเรา ที่เติบโตประสบความสำเร็จ จากการที่กล้าคว้าโอกาส ที่ภาควิชาฯ คอยสร้างและหยิบยื่นให้ครับ ภาควิชาเรา ก็ยังคงมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายนานาชาติ (International Plus) เพื่อเปิดโอกาสให้ วิศวกรวัสดุ ของเรา ได้เป็น Global Engineer อย่างแท้จริง จะได้สร้าง บุคลากรด้านวัสดุศาสตร์ ที่เป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศไทยเรา แบบพี่ยอด เพื่อให้ต่างประเทศยังคงลงทุนและสร้างเทคโนโลยีในประเทศ เพิ่มขึ้นต่อไปครับ

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine
PrevPreviousพี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
Nextพี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้างNext

ค้นหาบทความ

คีย์เวิร์ดยอดนิยม

หมวดหมู่

ทั้งหมด รายการ

ไม่พบรายการ

โหลดเพิ่ม

บทความล่าสุด

ดูทั้งหมด »

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

8 เมษายน 2568 10:01

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

18 มีนาคม 2568 11:01

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

4 กุมภาพันธ์ 2568 09:51

ประเภทบทความ

  • ไม่ระบุหมวดหมู่
  • พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2025 (3)
      • เมษายน (1)
      • มีนาคม (1)
      • กุมภาพันธ์ (1)
    • [+]2024 (20)
      • ธันวาคม (2)
      • กันยายน (1)
      • สิงหาคม (5)
      • มิถุนายน (2)
      • พฤษภาคม (2)
      • เมษายน (1)
      • มีนาคม (3)
      • กุมภาพันธ์ (1)
      • มกราคม (3)
    • [+]2023 (5)
      • ธันวาคม (3)
      • พฤศจิกายน (2)
    • [+]2018 (1)
      • กรกฎาคม (1)
    • [+]2017 (1)
      • ตุลาคม (1)
    • [+]2015 (4)
      • เมษายน (4)
  • แท็กบทความ

    glass ceramics Japan ญี่ปุ่น พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง ม.เกษตร วิศวะวัสดุ วิศวะวัสดุ เกษตร เด็กวิศวะ เด็กวิศวะวัสดุ เรียนอะไรดี

    บทความที่น่าสนใจ

    489323977_1172903127961552_7157794286164064393_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    8 เมษายน 2568
    10:01
    484951901_1156042942980904_4879127371739468016_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    18 มีนาคม 2568
    11:01
    476223458_1124703159448216_3316741313162602491_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    4 กุมภาพันธ์ 2568
    09:51
    471443953_1096880765563789_7659229830392110173_n
    พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง
    26 ธันวาคม 2567
    14:16
    ไม่พบรายการ
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    อาคารชูชาติ กำภู, 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทร : (+66) 02 797 0999 ต่อ 2102-4

    Facebook Youtube Instagram X-twitter Envelope Phone
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    Copyright © 2022-2024, Department of Materials Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

    ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    อาคารชูชาติ กำภู, 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทร : (+66) 02 797 0999 ต่อ 2102-4

    Facebook Youtube Instagram X-twitter Envelope Phone
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   Kasetsart University
    •   Faculty of Engineering, KU
    •   Materials Innovation Center (MIC)
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    •   แผนผังเว็บไซต์
    • เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
    • ข้อตกลงด้านสิทธิ์ใช้งาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    Copyright © 2022-2024, Department of Materials Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

    Research Platform

    หลักสูตร Courses

    Facebook

    Youtube

    ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ MIC

    สนใจเข้าศึกษา Prospective

    คีย์เวิร์ดยอดนิยม

    หมวดหมู่

    ทั้งหมด รายการ

    ไม่พบรายการ

    ผลการค้นหาทั้งหมด
    เมนูหลัก
    •   หน้าหลัก
    • เกี่ยวกับเรา
      • รู้จักวิศวกรรมวัสดุ
      • สารจากผู้บริหาร
      • ประวัติภาควิชา
      • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
      • ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ
      • บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
    • บุคลากร
    • หลักสูตร
      • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมวัสดุ (Undergraduate)
      • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)
      • ปริญญาโท (Master)
      • ปริญญาเอก (Doctorate)
    • งานวิจัย
      • Research Platform
      • ข่าววิจัย
      • รางวัลและประกาศเกียรติคุณ
      • กิตติกรรมประกาศภาควิชา
      • ปริญญานิพนธ์
    • ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
      • เกี่ยวกับเรา
      • สิ่งอำนวยความสะดวก
      • บริการด้านการวิจัย
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ติดต่อเรา
    เมนูลัด
    • แบบฟอร์ม
    • แกลเลอรี่
    • ข้อร้องเรียน
    • เว็บบอร์ด
    • สำหรับผู้สนใจเข้าศึกษา
    • สำหรับนิสิตปัจจุบัน
    • สำหรับนิสิตเก่า
    • สำหรับบุคลากร