บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

417203502 872722614646273 7329535887227207820 N

#วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไร

#พี่น้องวัสดุกลับมาเล่า

เริ่มต้นปีใหม่นี้ เราขอแนะนำสายงาน วิศวกรรมวัสดุ ใน #อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กับ พี่เอ็ม MatE12, E65, KU69 ที่ทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมากกว่า 9 ปี โดยตำแหน่งงานปัจจุบัน คือ Senior Materials and Corrosion Engineer ที่บริษัท PTT Global Chemical Public Company Limited (PTTGC)

พี่เอ็ม จบตรีและโท จากภาควิชาฯของเรา โดยตอนป.ตรี ทำหัวข้อวิจัยในสายงานด้านโลหะผสม (Metal alloys) สำหรับงานบัดกรี พอเรียนต่อ ป.โท ก็ขยายความเชี่ยวชาญตัวเอง ไปทำวิจัยในสายพอลิเมอร์ด้าน การคัดเลือกวัสดุและออกแบบพลาสติกฟิล์มสำหรับผลิตภัณฑ์บำบัดน้ำด้วยแสง หลังเรียนจบ ก็ได้ตอบรับไปทำงานที่บริษัท PTTGC ระยอง พี่เอ็มบอกว่า ด้วยจุดแข็งที่มีความเชี่ยวชาญในวัสดุที่หลากหลาย เลยทำให้หัวหน้างานที่สัมภาษณ์สนใจดึงตัวเข้าไปร่วมทีม corrosion engineers ที่ส่วนใหญ่จะจบมาสายโลหะวิทยาเป็นหลัก (เพราะ โลหะกลุ่ม Ferrous alloys เป็นตัวเลือกวัสดุหลักในปัจจุบัน)

พี่เอ็มบอกว่าจากการทำงานที่ผ่านมา การที่มีความรู้ทั้งวัสดุที่ครอบคลุม ก็ช่วยให้บูรณาการในการเชื่อมโยง แก้ปัญหา failure analysis และ การกัดกร่อนในหลายๆส่วนได้ดี เพราะในบางครั้ง การเสียหาย ก็อาจจะเกิดจากวัสดุประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่โลหะอีกด้วย และยิ่งในปัจจุบันตัวเลือกของ ท่อ pressure vessel ถัง หรือ reactor ก็มีตัวเลือกวัสดุหลายประเภทเข้ามาให้พิจารณา

หากสนใจงานด้านวัสดุศาสตร์ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไปอ่านกันต่อได้เลยครับ

#MaterialsEngineering_KU : สวัสดีครับ พี่เอ็มพอจะแนะนำตำแหน่งงานและความรับผิดชอบปัจจุบันในสายงานได้ไหมครับ

#พี่เอ็ม : ตำแหน่งงานปัจจุบัน Senior Materials and Corrosion Engineer บริษัท PTT Global Chemical Public Company Limited (GC) รับผิดชอบงานด้านการให้คำปรึกษาใน #การเลือกใช้วัสดุ (materials selection) #การป้องกันปัญหาการกัดกร่อน (corrosion prevention) และ #การวิเคราะห์ความเสียหาย (failure analysis) ของอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครับ

#MaterialsEngineering_KU : ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่ได้ใช้ประโยชน์ในสายงานมีอะไรบ้างครับ

#พี่เอ็ม : ความรู้ทางด้านสมบัติวัสดุ โลหะ เซรามิกส์ โพลิเมอร์ ที่สามารถบูรณาการการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมอย่างครอบคลุม ไม่จำกัดวัสดุที่ประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่ทำให้ ประยุกต์ใช้กับความรู้ใน #การเลือกและใช้งานแต่ละวัสดุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ความรู้ทางด้านหลักการและการใช้เครื่องมือใน #การจำแนกคุณลักษณะของวัสดุ ที่ช่วยในการวิเคราะห์ #วิศวกรรมย้อนรอย (reverse engineering) เพื่อหาต้นตอปัญหาของความเสียหาย

#MaterialsEngineering_KU : และในตอนเรียนต่อป.โท กับภาควิชาฯ พี่เอ็มได้พัฒนาอะไรเพิ่มเติมที่สำคัญครับ

#พี่เอ็ม : นอกจากได้ความรู้ในเชิงวัสดุศาสตร์ที่ลึกซึ้งแล้ว การได้มีโอกาสใช้ #เครื่องมือวิเคราะห์ที่หลากหลาย จนชำนาญ เช่น เทคนิควิเคราะห์วัสดุด้วย #รังสี X-Ray, เทคนิคการวิเคราะห์ #การเสื่อมสภาพของวัสดุ , การวิเคราะห์ #สมบัติทางกลของวัสดุ เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการไปทำงานในอุตสาหกรรมครับ

#MaterialsEngineering_KU : พี่เอ็มมีอะไรแนะนำน้องๆ ในทักษะความรู้อื่นๆเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อสายงานไหมครับ

#พี่เอ็ม : นอกเหนือจากความรู้ในสายของวัสดุศาสตร์ การพัฒนาตัวเองในด้าน logical-thinking, creative-thinking, problem-solving, self-learning รวมถึงทักษะในด้าน soft skills เช่น การอยู่ร่วมและทำงานร่วมกับผู้อื่น จะสำคัญมากครับ

ซึ่งทักษะเหล่านี้ มหาวิทยาลัยมีเวทีแห่งโอกาสให้เราพัฒนา ที่เราสามารถเก็บเกี่ยวและพัฒนาได้ ผ่านการทำโปรเจค การทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน การทำกิจกรรมอาสาต่างๆของ มหาวิทยาลัย คณะ หรือ ภาควิชาฯ ครับ

ขอบคุณพี่เอ็ม ที่ช่วยแชร์เกร็ดประสบการณ์ดีๆให้น้องๆครับ จริงๆแล้ว พี่เอ็มกลับมาช่วยหรือร่วมมือกับภาคฯตลอดมา ตั้งแต่เรียนจบไปแล้ว 9 ปี ทั้งการร่วมวิจัยหาปัญหาของการเสื่อมสภาพวัสดุใน plant นำชิ้นงานมาให้ภาควิชาฯช่วยวิเคราะห์สมบัติวัสดุ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความเสียหาย และยังมาช่วยเป็น วิศวกรพี่เลี้ยง ดูแลน้องที่ไปฝึกงาน หรือให้การแนะนำน้องๆในสายงานด้านวิศวกรรมการกัดกร่อน ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยินดีอาสาให้ภาควิชาฯ มาเล่ากรณีศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้น้องๆได้ฟังหลังเลิกงานในช่วงเย็น

สมกับที่ตลอดช่วงเวลาในรั้ว ม.เกษตรศาสตร์ ที่นอกจากจะมีผลการเรียนที่ดี ยังสามารถแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมของภาค หรือ กิจกรรมค่ายอาสาของมหาวิทยาลัย ซึ่งการพัฒนาทักษะต่างๆที่หลากหลายนี้ ช่วยให้สามารถจัดสรรเวลาการทำงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

จึงไม่แปลกใจที่ พี่เอ็มสามารถปรับตัวทำงานในแผนก Materials and Corrosion Engineer ได้อย่างดี เพราะสายงานด้านการวิเคราะห์ความเสียหายและกัดกร่อนนี้ ต้องติดต่อประสานงานกับหลายส่วน หลายโรงงาน เพราะปัญหาจากหลากหลาย plants จะมุ่งมาที่แผนกงานนี้เป็นหลัก ทำให้พี่เอ็มต้องมีทักษะในการประสานงาน ทำงานร่วมกับวิศวกรหรือช่างในตำแหน่งอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี สมเป็น #วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก ที่สามารถทำงานร่วมกับหลากหลายสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพนะครับ

ถ้าน้องๆสนใจในสายงานนี้ ก็เตรียมตัวกันให้พร้อมในทั้งความรู้และทักษะต่างๆนะครับ

#วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก#MatE_KU_Plus

#วิศวกรรมวัสดุ#เกษตรศาสตร์

#ศิษย์เก่า#alumni

#วัสดุเชิงกล#MechanicalMaterials

#การกัดกร่อน #corrosion #FailureAnalysis

ค้นหาบทความ

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2024 (19)
    • [+]2023 (5)
    • [+]2018 (1)
    • [+]2017 (1)
    • [+]2015 (4)
  • บทความที่น่าสนใจ

    469042391_1081106887141177_130714553937625886_n
    461448269_1033463818572151_7345044506422452680_n
    Videoframe 10881
    กระบวนการทำ Glass-Ceramics