วันคริสมาสต์ปีนี้ พี่แอม (มาพร้อมกับต้นคริสมาสต์) MatE9, KU66, E62 มาแบ่งปันประสบการณ์ทำงานกว่า 10 ปี ในสาย #วิศวกรควบคุมคุณภาพ และ #วิศวกรตรวจสอบ#QualityControl (QC) และ #Inspection
หลังเรียนจบจากภาควิชาฯใหม่ๆ พี่แอมได้โอกาสเก็บประสบการณ์ด้าน Quality Control/Inspection ในสาย #EPC ( #Engineering, #Procurement, #Construction ) กับบริษัท TTCL ที่เป็นบริษัทสร้างโรงงานขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้า/ประปา โดยจังหวะเวลานั้นนั้น มีเมกะโปรเจคที่ประเทศกาตาร์ (เตรียมรองรับฟุตบอลโลก 2022) จึงต้องการวิศวกรไทยไปดูแลควบคุมคุณภาพตรวจงาน เห็นเป็นผู้หญิงตัวเล็กแบบนี้ พี่แอมตัดสินใจลุยตะวันออกกลาง เป็นวิศวกรตรวจสอบควบคุมคุณภาพ ในไซต์งานของบริษัท ได้ประสบการณ์งานด้าน Inspection/QC มาเต็มที่ และจากนั้นมา ก็ทำงานในสายนี้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน พี่แอมทำงานเป็น Assistant Group Manager/Quality Control Group/Quality Control Department บริษัท MKK Asia Co. Ltd. (บริษัทในเครือ Mitsubishi Kakoki Kaisha, Ltd.)
พี่แอมแชร์ประสบการณ์อย่างละเอียด ลองไปอ่านทราบข้อมูลกับงานในสายนี้กันได้เลย
#MaterialsEngineering_KU : สวัสดีครับ พอจะแนะนำตำแหน่งงานปัจจุบัน และหน้าที่ความรับผิดชอบในสายงานปัจจุบัน ได้ไหมครับ
#พี่แอม : ปัจจุบัน ทำงานตำแหน่ง Assistant Group Manager ฝ่าย Quality Control Group/Quality Control Department บริษัท MKK Asia Co., Ltd. (Subsidiary of Mitsubishi Kakoki Kaisha, Ltd.)
ความรับผิดชอบหลัก จะเป็นงาน fabrication inspection รวมถึง welding inspection ของ static equipment (pressure vessel, tank, heat exchanger etc.), และ piping เป็นต้น ค่ะ
#MaterialsEngineering_KU : ได้ใช้ความรู้ ทักษะ จากภาควิชาฯ ในสายงานที่ทำมาอย่างไรบ้างครับ
#พี่แอม : ใช้ความรู้ครอบคลุมด้านวิศวกรรมวัสดุและวัสดุศาสตร์ เกือบทั้งหมดที่เรียนมา ตั้งแต่..
ได้นำความรู้เรื่อง #materials#metallurgy – #การเลือกใช้วัสดุ ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักร เช่น carbon steel, stainless steel, alloy steel รวมถึง composite material ด้วย
Formed material วัสดุที่เลือกใช้ขึ้นรูปมาแบบไหน เช่น forged flange, rolled plate เป็นต้น
Material forming – #การขึ้นรูปวัสดุ ว่ามีออบชั่นขึ้นรูปอย่างไรบ้าง เช่น bending, rolling เป็นต้น
Material properties – การตรวจเช็ค chemical composition และ mechanical properties ของวัสดุ (Tensile, Yield strength, % El, Hardness, Toughness etc.)
Heat treatment – annealing, hardening, quenching, normalizing และ stress relieving
Welding – งานเชื่อมโลหะ กระบวนการเชื่อม การเลือกชนิดของลวดเชื่อม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Non-destructive testing ( #NDT ) #การทดสอบแบบไม่ทำลาย เช่น PT, UT, MT, RT
Corrosion & Failure analysis วิเคราะห์การกัดกร่อน สาเหตุของการเกิดปัญหา และแนวทางป้องกัน
#MaterialsEngineering_KU : ถ้าน้องๆสนใจสายงานด้านนี้ แนะนำให้เตรียมความพร้อมอย่างไร
#พี่แอม : Quality Control ในสายงาน #Engineering, #Procurement, and #Construction ( #EPC ) ตัวอย่างเช่น งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า, ปิโตรเคมี, Oil & Gas จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของ #วัสดุศาสตร์ ตั้งแต่ #การเลือกใช้วัสดุ มาใช้ผลิตอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรต่างๆ, #การขึ้นรูปของวัสดุ#งานเชื่อมโลหะ และ #การทดสอบงานเชื่อม เป็นต้น
ต้องใช้ #ทักษะวิศวกร เป็นอย่างมาก ในการคิดวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบงานออกแบบและหน้างาน ให้เป็นไปตามสเปคและเวลา รวมถึงการใช้ #ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสาร
ในการทำงานจำเป็นต้องมีทัศนคติที่ดี สามารถ #ทำงานร่วมงานกับผู้คนจำนวนมาก ได้ดี มีความ #กล้าที่จะแสดงออก และ #รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความอดทนต่องานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมแก้ไขเมื่องานเกิดปัญหา และมี #ภาวะผู้นำสูง
#MaterialsEngineering_KU : ถ้ามีอะไรอยากแนะเพิ่มเติมนอกเหนือจากคำถามก็เสริมได้นะครับ ถ้าคิดว่าเป็นประโยชน์
#พี่แอม : การเรียนในภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ สามารถ #ต่อยอดไปในแขนงอื่นๆ ได้ดี ทั้งสายโรงงานผลิต #รถยนต์ #เครื่องมือแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป อีกทั้งในโรงงาน #ปิโตรเคมี ก็ยังมีการใช้ความรู้ด้าน #corrosion, failure analysis อยู่เสมอในการซ่อมบำรุงหรือเมื่อเกิดเหตุต่างๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังคงใช้วัสดุในชีวิตประจำวัน ความรู้ทางด้าน #วัสดุและการผลิต ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาต่อไป
ประสบการณ์ทำงานในสายงาน QC ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้ความรู้เกี่ยวกับวัสดุศาสตร์มาโดยตลอด โดยเฉพาะ # งานเชื่อม และ #การทดสอบ NDT และเมื่อครั้งยังทำงานอยู่บริษัท TTCL มีโอกาสได้ไปทำงาน ณ ประเทศกาตาร์ เนื่องจากมีการขยายโรงไฟฟ้าและน้ำประปา เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกปี2022 ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากครั้งหนึ่งในชีวิต ตลอดการทำงานคิดถึงภาควิชามาก ว่าที่เราเรียนมานั้นสามารถใช้งานได้จริงและตรงสายมาก หลังกลับจากประเทศกาตาร์ก็ยังคงทำงานสายนี้ในไทยได้อย่างต่อเนื่อง
น้องๆหลายคนอาจจะเข้าใจว่า จบจากภาควิศวกรรมวัสดุแล้วต้องไปทำงานเป็นอาจารย์ นักวิจัย หรือ วิศวกรในโรงงาน แต่ยังมีอีกสายงานหนึ่งคือสายงาน #EPC (Engineering, Procurement, Construction) ที่ยังรองรับบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวัสดุค่ะ
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและเกรดก็ยังคงเป็นใบเบิกทางสำหรับการหางานในประเทศไทย โดยเฉพาะนิสิตจบใหม่ๆ แต่ประสบการณ์ในการทำงานและภาษาอังกฤษก็สำคัญมากเช่นกันที่จะต่อยอดการงานให้สูงขึ้นไปได้ อยากให้น้องๆโฟกัสที่ #ภาษาอังกฤษ ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานและการทำงานค่ะ
ขอบคุณพี่แอม ที่สละเวลาให้ข้อมูลที่ละเอียด กับงาน วิศวกรด้าน #QualityControl #Inspection ในกลุ่ม #EPC (Engineering, Procurement, Construction) นี้ ที่พี่แอมมีประสบการณ์ทำงานกว่า 10 ปี เห็นได้ว่า พี่แอมได้ใช้ความรู้ครอบคลุม ตั้งแต่ การเลือกวัสดุ-การขึ้นรูป-การทดสอบสมบัติวัสดุ-การวิเคราะห์ความวิบัติแลกัดกร่อน ครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยทีเดียว แถมยังต้องมีทักษะการเป็นผู้นำ ทำงานร่วมกับทีมงานหลากหลายสาขาและอาชีพ ที่จำเป็นต้องมีทักษะ การสื่อสาร รับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
เห็นได้ว่า พี่แอมประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ที่ฝึกฝีมือเรียนรู้จากรั้วเกษตรศาสตร์เรา อย่างคุ้มค่า แสดงถึง DNA ของ #วิศวกรวัสดุพร้อมบวก ของ ม.เกษตรศาสตร์ เราได้อย่างน่าภาคภูมิใจครับ
ขอขอบคุณแทนน้องๆ สำหรับข้อมูลดีๆมากครับ
#วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก #MatE_KU_Plus
#วิศวกรรมวัสดุ #เกษตรศาสตร์
#ศิษย์เก่า #alumni
#วัสดุเชิงกล #MechanicalMaterials
#กระบวนการผลิตวัสดุ #MaterialsProcessing