บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
  4. »
  5. พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

412013862 860204352564766 235173841484275794 N 2

#วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไร

#พี่น้อง Mat-E KU กลับมาเล่า

สัปดาห์นี้ เราลองมาส่องอาชีพ นักวิจัยด้านพลังงาน ในสถาบันวิจัยระดับชาติกันบ้าง ซึ่งได้เกียรติจาก พี่อั้ม MatE10, E63, KU67 ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยนักวิจัย ในทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) มาสละเวลาแชร์สายอาชีพนี้ให้น้องๆที่สนใจกันครับ

พี่อั้มจบตรีและโท ที่ภาควิชาฯของเรา ทำงานวิจัยป.ตรีด้าน #สังเคราะห์ลิกนินจากวัสดุการเกษตร ที่ใช้ศาสตร์ทางวัสดุเชิงเคมี และปริญญาโท ก็มาฝึกฝีมือวิจัย #ด้านโลหะ และ #ไฟฟ้าเคมี มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติตั้งแต่ตอนเรียนโท มีแววศักยภาพของนักวิชาการและนักวิจัยเต็มเปี่ยมตั้งแต่สมัยเรียน สามารถถามเพื่อนในรุ่นได้ว่า พี่อั้มเป็นที่พึ่งของเพื่อน ติวเนื้อหาเรียนก่อนสอบ จนผลักดันเพื่อนๆในรุ่นให้จบไปด้วยกันหลายชีวิตเลยทีเดียว

ด้วยความที่สนใจสายงานวิจัย พี่อั้มจึงสมัครเป็น ผู้ช่วยนักวิจัย ที่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ทำงานวิจัยในทีม #วิจัยด้านพลังงาน Bio diesel จนทีมวิจัยผันตัวออกมาอยู่ภายใต้ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) ที่เป็นศูนย์ฯน้องใหม่ แต่ไฟแรง เพราะความต้องการด้านเทคโนโลยีด้านพลังงานเพิ่มขึ้นสูงมาก

น้องๆคนไหนสนใจสายงานวิจัย ลองไปอ่านข้อมูลจากพี่อั้มกันครับ

#MaterialsEngineering_KU : พี่อั้มช่วยแนะนำสายงานและความรับผิดชอบให้น้องๆได้ไหมครับ

#พี่อั้ม : ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยวิจัยในทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) งานหลัก คือ งานทดลองทั่วไปในห้องปฏิบัติการตามเนื้อหาของโครงการวิจัยที่ได้รับมอบหมาย งานเสริม คือ ดูแลความเรียบร้อยของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้มาขอใช้เครื่องมือเฉพาะทางด้วยครับ

#MaterialsEngineering_KU : ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา กับงานในปัจจุบันอย่างไรบ้างครับ

#พี่อั้ม : ผมได้ใช้ความรู้ด้าน #วิเคราะห์สมบัติของวัสดุ โดยตรงครับ แม้ว่าโครงการในแต่ละปีจะเปลี่ยนไป แต่ทุกครั้งที่ผมทดลองผลิตตัวอย่างในห้องปฏิบัติการแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบโครงสร้างและคุณสมบัติต่างๆ ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ เพื่อมองหาข้อผิดพลาดในการทดลองและนำมาวางแผนการทดลองลองถัดไป นอกจากนี้ ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นของเครื่องมือก็จำเป็นมากๆ สำหรับผู้ดูแลเครื่องมือในห้องปฏิบัติการครับ มันทำให้เข้าใจการทำงานของตัวเครื่อง สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด และรู้ว่าต้องระมัดระวังส่วนไหนเวลาใช้งานครับ

#MaterialsEngineering_KU : มีอะไรแนะนำน้องๆโดยรวมบ้างไหมครับ

#พี่อั้ม : สำหรับงาน #สายวิจัย ผมมองว่า #องค์ความรู้พื้นฐานวัสดุศาสตร์ จากในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทำให้เราเข้าใจ #ธรรมชาติของวัสดุ นั้นๆ และสามารถคิดค้นพัฒนาต่อยอดมันให้ดีขึ้นได้ ในงานสายวิจัยหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราได้พบเจอกับวัสดุใหม่ๆ กระบวนการผลิตใหม่ๆ ซึ่งบางอย่างอาจไม่ได้เรียนมาในห้องเรียน มันฝึกฝนเราให้เพิ่มทักษะด้านกระบวนการคิด การแก้ไขปัญหา และต้องเปิดใจกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยครับ

ขอบคุณพี่อั้มมากครับสำหรับข้อมูลดีๆในสายงานวิจัย ตอนนี้พี่อั้มก็มีการช่วยในโครงการวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ Bio diesel จนปัจจุบัน ทีมวิจัยก็มีความสนใจในเรื่องของงานวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน อย่างที่พี่อั้มได้กล่าวข้างต้น โจทย์และปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้พื้นฐานด้านวัสดุศาตร์ ก็จะช่วยเป็นรากฐานสำคัญให้สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆด้วยตัวเองได้อย่างมั่นใจ เพราะมีพื้นฐานแน่น และด้วยพื้นฐานวัสดุศาสตร์ที่หลากหลายจากทั้งป.ตรีและโท ก็ช่วยให้การพบเจอกับวัสดุใหม่ๆ หรือ กระบวนการใหม่ๆ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นชวนเรียนรู้ ขอบคุณพี่อั้มมากๆครับ

#วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก#MatEKUPlus

#วิศวกรรมวัสดุ#เกษตรศาสตร์

#Energy #Research

ค้นหาบทความ

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2024 (18)
    • [+]2023 (5)
    • [+]2018 (1)
    • [+]2017 (1)
    • [+]2015 (4)
  • บทความที่น่าสนใจ

    461448269_1033463818572151_7345044506422452680_n
    Videoframe 10881
    กระบวนการทำ Glass-Ceramics
    Videoframe 10875