ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)

  1. หน้าหลัก
  2. »
  3. หลักสูตร
  4. »
  5. ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Undergraduate)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม    วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)

ชื่อย่อ     วศ.บ. (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)

ชื่อเต็ม    Bachelor of Engineering (Semiconductor Engineering)

ชื่อย่อ     B.Eng. (Semiconductor Engineering)

วัตถุประสงค์หลักสูตร (Program Educational Objectives)

             ผลิตวิศวกรด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่มีคุณภาพสูงตอบโจทย์และเท่าทันกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้ง Value Chain ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้แก่ การออกแบบวงจรรวม (Integrated Circuit (IC) Design) การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์  (Semiconductor Assembly and Testing) และการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Fabrication) และมีจำนวนที่มากเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบ (Impact) ให้กับประเทศได้ เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็น New Growth Engine ของประเทศที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีมูลค่าสูง รวมถึงการรองรับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกันทำให้สามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงที่มีคุณภาพและมีจำนวนที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่กำลังขยายตัวทั้งในประเทศและในระดับโลก

ผลลัพธ์การศึกษาของหลักสูตร (Program Outcomes)

             ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรฐานการรับรองคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่เน้นผลลัพธ์การศึกษา (Outcome Based Education) ที่สภาวิศวกรกำหนด ภายใต้การให้การรับรองจากหน่วยรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา Thailand Accreditation Board for Engineering Education (TABEE)  ซึ่งนำหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงตามแนวทางสากลข้อตกลง Washington Accord สหรัฐอเมริกา มาเป็นกรอบการกำหนดขั้นตอนและวิธีการรับรอง โดยผลลัพธ์การศึกษาตามแนวทาง TABEE กำหนดไว้ 11 ข้อ ดังนี้  

PLO1: ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการแก้ปัญหาวิศวกรรม รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรม หรือ ให้นิยาม รวมทั้งประยุกต์วิธีการ กระบวนงาน กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้

PLO2: การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม
สามารถระบุปัญหา สืบค้นทางเอกสาร สร้างแบบจำลองรวมตั้งสมการความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เพื่อหาคำตอบ และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน จนได้ข้อสรุปเบื้องต้น โดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกองค์ประกอบ

PLO3: การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา
สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม วัฒนธรรมความปลอดภัย          การอนามัยและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนอาทิ มูลค่าตลอดวัฏจักรชีวิต          การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และประเด็นทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

PLO4: การพิจารณาตรวจสอบ
สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผล งานและปัญหาทางวิศวกรรมซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การหาข้อมูล การทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ข้อสนเทศ และออกแบบ เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

PLO5: การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย
สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์     เหล่านั้น

PLO6: การทำงานร่วมกันเป็นทีม
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มในรูปแบบต่าง ๆ ได้

PLO7: การติดต่อสื่อสาร
สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลทั้งด้วยวาจา ด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน

PLO8: ความรับผิดชอบของวิศวกรต่อโลก
มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมในบริบทของสังคม เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และกรอบของกฎหมาย รวมทั้งสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย

PLO9: จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าใจถึงความหลากหลายทางสังคม

PLO10: การบริหารงานวิศวกรรม
มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์และการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

PLO11: การเรียนรู้ตลอดชีพ
ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเรียนรู้ตลอดชีพและการพัฒนาตนเอง การปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ การคิดวิเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

จำนวนนิสิตที่เปิดรับ

     ภาคปกติ 40 คน
     ภาคพิเศษ 40 คน

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า12 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ 109 หน่วยกิต
      กลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์   27 หน่วยกิต
      กลุ่มวิชาบังคับ   64 หน่วยกิต
การออกแบบวงจรรวม  
     กลุ่มวิชาบังคับร่วม27 หน่วยกิต 
     กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะแขนง21 หน่วยกิต 
     กลุ่มวิชาบังคับเลือกร่วม  6 หน่วยกิต 
การผลิตเซมิคอนดักเตอร์  
     กลุ่มวิชาบังคับร่วม27 หน่วยกิต 
     กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะแขนง31 หน่วยกิต 
     กลุ่มวิชาบังคับเลือกร่วม6 หน่วยกิต 
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะแขนง 12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา    6 หน่วยกิต