ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)
ชื่อย่อ วศ.บ. (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)
ชื่อเต็ม Bachelor of Engineering (Semiconductor Engineering)
ชื่อย่อ B.Eng. (Semiconductor Engineering)
วัตถุประสงค์หลักสูตร (Program Educational Objectives)
ผลิตวิศวกรด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่มีคุณภาพสูงตอบโจทย์และเท่าทันกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้ง Value Chain ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้แก่ การออกแบบวงจรรวม (Integrated Circuit (IC) Design) การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Assembly and Testing) และการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Fabrication) และมีจำนวนที่มากเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบ (Impact) ให้กับประเทศได้ เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็น New Growth Engine ของประเทศที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีมูลค่าสูง รวมถึงการรองรับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกันทำให้สามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงที่มีคุณภาพและมีจำนวนที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่กำลังขยายตัวทั้งในประเทศและในระดับโลก
ผลลัพธ์การศึกษาของหลักสูตร (Program Outcomes)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรฐานการรับรองคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่เน้นผลลัพธ์การศึกษา (Outcome Based Education) ที่สภาวิศวกรกำหนด ภายใต้การให้การรับรองจากหน่วยรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา Thailand Accreditation Board for Engineering Education (TABEE) ซึ่งนำหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงตามแนวทางสากลข้อตกลง Washington Accord สหรัฐอเมริกา มาเป็นกรอบการกำหนดขั้นตอนและวิธีการรับรอง โดยผลลัพธ์การศึกษาตามแนวทาง TABEE กำหนดไว้ 11 ข้อ ดังนี้
PLO1: ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการแก้ปัญหาวิศวกรรม รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรม หรือ ให้นิยาม รวมทั้งประยุกต์วิธีการ กระบวนงาน กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้
PLO2: การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม
สามารถระบุปัญหา สืบค้นทางเอกสาร สร้างแบบจำลองรวมตั้งสมการความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เพื่อหาคำตอบ และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน จนได้ข้อสรุปเบื้องต้น โดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกองค์ประกอบ
PLO3: การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา
สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม วัฒนธรรมความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนอาทิ มูลค่าตลอดวัฏจักรชีวิต การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และประเด็นทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
PLO4: การพิจารณาตรวจสอบ
สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผล งานและปัญหาทางวิศวกรรมซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การหาข้อมูล การทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ข้อสนเทศ และออกแบบ เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
PLO5: การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย
สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์ เหล่านั้น
PLO6: การทำงานร่วมกันเป็นทีม
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มในรูปแบบต่าง ๆ ได้
PLO7: การติดต่อสื่อสาร
สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลทั้งด้วยวาจา ด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
PLO8: ความรับผิดชอบของวิศวกรต่อโลก
มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมในบริบทของสังคม เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และกรอบของกฎหมาย รวมทั้งสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
PLO9: จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าใจถึงความหลากหลายทางสังคม
PLO10: การบริหารงานวิศวกรรม
มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์และการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
PLO11: การเรียนรู้ตลอดชีพ
ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเรียนรู้ตลอดชีพและการพัฒนาตนเอง การปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ การคิดวิเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
จำนวนนิสิตที่เปิดรับ
ภาคปกติ 40 คน แบ่งเป็น:
แขนงย่อย การออกแบบวงจรรวม (IC Design) : 24 คน
แขนงย่อย การการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Fabrication) : 16 คน
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 12 หน่วยกิต |
(2) หมวดวิชาเฉพาะ | 109 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์ | 27 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับ | 64 หน่วยกิต | |
– การออกแบบวงจรรวม | ||
กลุ่มวิชาบังคับร่วม | 27 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะแขนง | 31 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับเลือกร่วม | 6 หน่วยกิต | |
– การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ | ||
กลุ่มวิชาบังคับร่วม | 27 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะแขนง | 31 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับเลือกร่วม | 6 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะแขนง | 12 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา | 6 หน่วยกิต |